เจาะ DR สินค้ายอดฮิต ออกเยอะแต่กำไรยาก วอลุ่มต้องโตอีก 3 เท่าถึงช่วยได้

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เจาะ DR สินค้ายอดฮิต ออกเยอะแต่กำไรยาก วอลุ่มต้องโตอีก 3 เท่าถึงช่วยได้

Date Time: 7 ก.ค. 2567 06:31 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • - ตลาด DR ยังเป็นความท้าทายของบริษัทหลักทรัพย์ แม้จะมียอดการเทรดที่เพิ่มขึ้น แต่วอลุ่มไม่สู้ ทำให้โอกาสทำกำไรมีน้อย

Latest


DR และ DRx กลายเป็นสินค้ายอดนิยมสำหรับนักลงทุนในเวลานี้ด้วยความสะดวกที่เราสามารถซื้อ DR ได้เหมือนเข้าซื้อหุ้นต่างประเทศโดยตรง โดยซื้อได้ผ่านตลาดหุ้นไทย และด้วยเงินบาท โดยเวลานี้มี DR และ DRx มากกว่า 40 ตัวให้นักลงทุนได้เลือกเทรด


แม้เวลานี้ DR จะฮิตในกลุ่มนักลงทุน แต่ในฝั่งผู้ออก หรือ โบรกเกอร์ ยังทำกำไรได้ยาก เนื่องจากสภาพคล่องการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ ในขณะเดียวกันนักลงทุนยังมีพฤติกรรมการซื้อและถือครอง มากกว่าการเทรด ซึ่งในด้านมูลค่าการซื้อขายอาจต้องเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าจากปัจจุบันถึงจะอยู่ในระดับที่เหมาะกับการสร้างกำไร จึงเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการบริษัทหลักทรัพย์ 


เจนวิทย์ ชินกุลกิจนิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) หรือ KGI เปิดเผยกับ Thairath Money ว่า ในมุมมองของธุรกิจหลักทรัพย์ DR ยังเป็นสินค้าที่ทำกำไรได้ยาก โดยปัจจุบันมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 1,500 ล้านบาท ทั้งนี้ หากจะให้เริ่มพลิกมีกำไรอาจจะต้องมีวอลุ่มสูงกว่าปัจจุบันอีก 3 เท่าตัว


“สินค้า DR ในตอนนี้เรามองว่า ทำกำไรได้ยากมาก ซึ่งตอนนี้มีวอลุ่มอยู่ที่ 1.5 พันล้านบาทต่อวัน เรามองว่าอาจจะต้องขึ้นอีก 3 เท่าถึงจะทำให้เริ่มพลิกมากำไร”


ทั้งนี้ปัจจุบันหลายบริษัทหลักทรัพย์เริ่มมาออกผลิตภัณฑ์ DR จำนวนมาก ซึ่งเวลานี้มีมากกว่า 40 หลักทรัพย์ในกระดาน เหตุหนึ่งที่ทำให้หลายบริษัทเลือกที่จะออก DR เพราะมองว่าเป็นโอกาสใหม่ที่จะขยายฐานลูกค้า 


แต่ DR ที่ออกมา มีเพียงไม่กี่หลักทรัพย์เท่านั้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ในระดับที่สูง เป็นหุ้นยอดนิยม ในต่างประเทศ ซึ่งในเวลานี้มีครบเกือบทุกหลักทรัพย์แล้ว 


ในด้านการทำกำไรในธุรกิจ DR นั้นโบรกเกอร์จะชื่นชอบให้นักลงทุนเทรด หรือซื้อขายบ่อยๆ เพราะจะได้รับค่าฟีในธุรกรรมการซื้อขาย แต่ในลักษณะการเทรด DR ของคนไทยเป็นแบบซื้อและถือครอง 


ดังนั้นหากจะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้ ต้องมีมูลค่าการเทรดที่เพิ่มขึ้น และเมื่อเทียบกับการเทรดหุ้นต่างประเทศโดยตรง ยังเป็นช่องทางที่รวดเร็วและสร้างกำไรได้ดีกว่าการลงทุนผ่าน DR แต่นักลงทุนจะได้รับผลกระทบจากภาษีรายได้จากต่างประเทศ


อย่างไรก็ตามในมุมของ บล.เคจีไอ มีการออก DR เช่นกัน โดยเป็นการออกผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมการให้บริการกับลูกค้ารายใหญ่ เน้นในสินทรัพย์ หรือ DR ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นเป็นหลัก 


โดยปัจุบัน เคจีไอ มีการออก DR ทั้งสิ้น 3 ตัว  ใน 3 สินทรัพย์อ้างอิง 1. “JAPAN13” ลงทุนในกองทุน ETF ChinaAMC MSCI Japan Hedged to USD ETF (3160 HK) โดยมีการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่ญี่ปุ่นมากกว่า 200 ตัว

2. “HK13” ลงทุนในกองทุน ETF Tracker Fund of Hong Kong (2800 HK) จะมีราคาเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนี Hang Seng ซึ่งเป็นดัชนีที่ครอบคลุมหุ้นประมาณ 80 บริษัทที่มีการทำธุรกิจในประเทศจีนและฮ่องกง  

3. “HKTECH13” ลงทุนในกองทุน Heng Seng TECH Index ETF (3032 HK) ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และทำธุรกิจในประเทศจีนเป็นหลัก ครอบคลุมหุ้น 30 ตัว  


ซึ่งที่ผ่านมา “JAPAN13” มีความโดดเด่นมากที่สุด เพราะเป็น DR ที่มีการเฮจด์ค่าเงินทำให้ไม่ได้รับผลกระทบค่าเงินเยนที่อ่อนค่าของญี่ปุ่น ซึ่งในอนาคต เคจีไอ อาจพิจารณาในการนำ DR ตัวใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มขึ้น 

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ