ไทยเบฟฯ ของ เจ้าสัวเจริญ ปรับพอร์ตธุรกิจอาหาร กำเงิน 6 พันล้าน นำ “เสริมสุข” ออกนอกตลาดหุ้น

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ไทยเบฟฯ ของ เจ้าสัวเจริญ ปรับพอร์ตธุรกิจอาหาร กำเงิน 6 พันล้าน นำ “เสริมสุข” ออกนอกตลาดหุ้น

Date Time: 4 ก.ค. 2567 09:53 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • - ไทยเบฟฯ ประกาศนำ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) หรือ SSC ออกจากตลาดหุ้น ผ่าน โซ วอเตอร์
  • - ตั้งทำเทนเดอร์ 93 ล้านหุ้น ราคา 63 บาท

Latest


ไทยเบฟเวอเรจ เจ้าของเบียร์ช้าง และกลุ่มอาหารอย่างโออิชิ กรุ๊ป ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี กำลังปรับพอร์ตอาหารในประเทศไทยครั้งใหม่ โดยล่าสุดได้ประกาศนำ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) หรือ SSC ออกจากตลาดหุ้น โดยให้ บริษัท โซ วอเตอร์ จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ประกาศรับซื้อหุ้นทั้งหมดของ SSC ที่เหลืออยู่ 93 ล้านหุ้น ในราคา 63 บาท โดยคาดว่าการทำรายการครั้งนี้จะใช้เงินทุนประมาณ 5,919 ล้านบาท 


บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2567 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) ในเรื่องที่สำคัญดังนี้

รับทราบหนังสือแจ้งความประสงค์ของบริษัท โซ วอเตอร์ จำกัด (“โซ วอเตอร์”) ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเห็นชอบให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 ส.ค. 2567

ทั้งนี้ บริษัทได้รับหนังสือแจ้งความประสงค์ฉบับลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 จาก โซ วอเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท และเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (ซึ่ง ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2566 โซ วอเตอร์ ถือหุ้นสามัญในบริษัทเป็นจำนวนทั้งสิ้น 171,954,804 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 64.67 ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท) 

โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า โซ วอเตอร์ มีความประสงค์ในการเข้าทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่เหลือทั้งหมดของบริษัทจำนวน 93,945,680 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 35.33 ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท ในราคาเสนอซื้อ 63.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณได้ตามวิธีการกำหนดราคา

การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะช่วยให้การบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากการลดขั้นตอน ทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจนั้นทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มไทยเบฟฯ ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการดําเนินงานของกลุ่มบริษัท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ/หรือเพิ่มศักยภาพในการดําเนินธุรกิจ 

โดยอาจมีการดําเนินการปรับโครงสร้างภายในและการปรับโครงสร้างของธุรกิจในด้านต่างๆ (ซึ่งอาจดําเนินการในลักษณะของการซื้อ จําหน่าย หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิต่างๆ การควบรวมกิจการ การโอนสิทธิตามสัญญาทางการเงิน การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ หรือแนวทางในการดําเนินธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารงาน การกู้ยืม ให้กู้ยืมเงิน ตลอดจนการระดมทุนในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น) 

การปรับโครงสร้างดังกล่าวอาจประกอบด้วยการทํารายการ หรือธุรกรรมระหว่างบริษัท และ/หรือบริษัทใน กลุ่มไทยเบฟฯ ดังนั้น การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะช่วยเพิ่ม ความคล่องตัวในการบริหารจัดการของบริษัท และเป็นการรองรับแผนการปรับโครงสร้างข้างต้นด้วย

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ