ยักษ์พลังงานไทย คึกช่วงน้ำมันพุ่งปรี๊ด บางจากบุกนอร์เวย์ ขยายฐานใหม่ PTTEPรับส้มหล่นพันธมิตรถอนตัว

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ยักษ์พลังงานไทย คึกช่วงน้ำมันพุ่งปรี๊ด บางจากบุกนอร์เวย์ ขยายฐานใหม่ PTTEPรับส้มหล่นพันธมิตรถอนตัว

Date Time: 9 เม.ย. 2567 11:19 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Latest


ราคาน้ำมันปรับตัวทำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เข้าใกล้ระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้ธุรกิจในด้านผลิตน้ำมันและพลังงานเริ่มถูกจับตามากขึ้น ทั้งราคาขายในประเทศ หรือการปรับตัวและกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโต โดยล่าสุด พบความเคลื่อนไหวของ 2 ยักษ์ใหญ่พลังงานในไทย ทั้ง บางจาก คอร์ปอเรชั่น ที่มีการปรับพอร์ตการลงทุน ด้านการเข้าลงทุนในนอร์เวย์ ในแหล่ง Brasse ดันกำลังสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียม ก็น่าจับตาเมื่อพันธมิตรหลักอย่าง Chevron กำลังถอนการลงทุน และส่งผลให้ PTTEP มีกำลังการผลิตในเมียนมามากขึ้น 

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท OKEA ASA บริษัทย่อยซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 45.58% ร่วมกับผู้ร่วมลงทุน ได้ตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final Investment Decision) ในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม Brasse ซึ่งคาดว่ามีปริมาณปิโตรเลียมสำรองจำนวน 24 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ (MBOE) โดยสัดส่วนของ OKEA เท่ากับ 39.2788% 

โครงการพัฒนาแหล่ง Brasse ตั้งอยู่ในทะเลนอร์เวย์ เป็นส่วนเชื่อมต่อและตั้งอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ของ แหล่งปิโตรเลียม Brage ซึ่ง OKEA เป็นผู้ดำเนินการอยู่เดิม  และ OKEA จะยังคงเป็น Operator ต่อในทั้ง 2 ใบอนุญาต จากความคืบหน้าในครั้งนี้ ปริมาณปิโตรเลียมสำรอง (2P) ตามสัดส่วนของ OKEA เพิ่มขึ้นจากประมาณ 83 MBOE เป็นกว่า 92 MBOE

โดยคาดการณ์จะเริ่มผลิตได้ช่วงครึ่งแรกของปี 2570 และปริมาณการผลิตจากแหล่งนี้สุทธิตามสัดส่วนจะได้ระดับ 10,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน (BOED) ภายในปีแรกของการผลิต โดย OKEA จะส่งแผนการพัฒนาและดำเนินการ (Plan for Development and Operation: PDO) แก่หน่วยงานภาครัฐของประเทศนอร์เวย์ ในเดือนเมษายน 2567 และจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อแหล่งปิโตรเลียม “Brasse” เป็น “Bestla” เมื่อได้รับอนุญาตอีกด้วย 


ที่ผ่านมา OKEA ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่ OKEA เป็น Operator มาอย่าง ต่อเนื่อง กล่าวคือ OKEA เข้าพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม Hasselmus ที่เชื่อมต่อกับ Draugen ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จนสามารถเพิ่มปริมาณปิโตรเลียมสำรอง (2P) ตามสัดส่วนได้ 4.7 MBOE และสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้เมื่อเดือนตุลาคม 2566 และเพิ่มกำลังการผลิตสุทธิตามสัดส่วนที่ 1,960 BOED โดยสามารถดำเนินการผลิตได้ก่อน กำหนดการและใช้งบลงทุนต่ำกว่าที่คาดการณ์จนมาถึงครั้งนี้แหล่งปิโตรเลียม Brasse นี้ มีความคืบหน้าในการ สำรวจและพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ OKEA มุ่งมั่นพัฒนาและต่อยอดการผลิตจากแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ใกล้เคียงกับโครงสร้างพื้นฐานเดิม (Organic Growth) เพื่อความคุ้มค่าในเชิงต้นทุนการผลิต จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นของแหล่งปิโตรเลียม

PTTEP ปรับพอร์ตในเมียนมา รับประโยชน์กำลังผลิตพุ่ง 

นอกจาก BCP ที่ขยายฐานการลงทุนใน นอร์เวย์แล้ว บริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ยังมีการปรับพอร์ตลงทุนในเมียนมาด้วย โดย บริษัท Unocal Myanmar Offshore Company Limited (UMOC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือ Chevron ได้แจ้งความจํานงในการถอนการลงทุนในโครงการยาดานา และได้ดําเนินการถอนการลงทุนแล้วเสร็จ ในวันที่ 5 เมษายน 2567 ทั้งนี้ ภายหลังการถอนการลงทุนดังกล่าว สัดส่วนการลงทุนของบริษัท UMOC ได้ถูกโอนให้กับผู้ร่วมทุนที่เหลืออยู่ โดย ปตท.สผ. จะมีสัดส่วนการลงทุนที่ร้อยละ 62.9630 ในโครงการยาดานา มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567

บล.ลิเบอเรเตอร์ เปิดเผยว่า ในกรณีของ PTTEP มีประเด็นในเรื่อง ผู้ร่วมทุนถอนการลงทุนในยาดานา UMOC บ.ย่อย Chevron แจ้งถอนการลงทุน โครงการยาดานาในเมียนมาร์ ส่งผลให้สัดส่วน การลงทุนเพิ่มเป็น 62.963% ปริมาณผลิตก๊าซ 516 MMSCFD ส่งเข้าไทย 80% ของปริมาณการผลิต

โดย UMOC ถอนการลงทุนในเมียนมาทั้งหมด : Unocal Myanmar Offshore Company Limited (UMOC) ซึ่ง เป็นบริษัทย่อยในเครือ Chevron แจ้งความจํานงถอน การลงทุนในโครงการ “ยาดานา” ซึ่งเพิ่งแล้วเสร็จใน วันที่ 5 เมษายน 2024 ภายหลังการถอนการลงทุน ดังกล่าว สัดส่วนการลงทุนของบริษัท UMOC ได้ถูกโอน ให้กับผู้ร่วมทุนที่เหลืออยู่ โดย ปตท.สผ. จะมีสัดส่วนการลงทุนเพิ่มเป็น 62.9630% จาก 37.0842% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2024 และผู้ถือหุ้นอีกรายคือ Myanmar Oil and Gas Enterprise (MOGE) โดยโครงการ ดังกล่าวเป็นแบบแบ่งปันผลผลิต (PSC)

ซึ่งหลังการถือสัดส่วนเพิ่มจะทําให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้น 4.3% หรือ 4 KBOED จากปัจจุบันอยู่ที่ 91.46 KBOED และรายการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่องบกําไรขาดทุนของบริษัท

ปริมาณการผลิตก๊าซ 516 MMSCFD ส่งเข้าไทย 80% ของปริมาณการผลิต : ปัจจุบัน PTTEP มีการลงทุนใน เมียมาร์ที่มีการผลิตเพียง 2 แหล่งคือ ยาดานาปริมาณ การผลิต 516 MMSCFD และซอติก้า 329 MMSCFD โดยปริมาณขายคิดเป็น 9% ของปริมาณขายทั้งหมด

ของบริษัทโดยก๊าซที่ผลิตได้จากโครงการยาดานาจะส่งเข้าไทยราว 80% ส่วนที่เหลือจะใช้ในพม่า ส่วนสัญญาที่จะสิ้นสุดปี 2027 นั้นคาดว่าปลายปี 2026-2027 คงจะเห็นความ ชัดเจนในโครงการดังกล่าว


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์