PTTEP ชนะประมูลกรีนไฮโดรเจน ในโอมานสัญญายาว 47 ปี กําลังผลิต 2.2 แสนตัน คาดเริ่มปี 2573

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

PTTEP ชนะประมูลกรีนไฮโดรเจน ในโอมานสัญญายาว 47 ปี กําลังผลิต 2.2 แสนตัน คาดเริ่มปี 2573

Date Time: 22 มิ.ย. 2566 10:44 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • ปตท.สผ. (PTTEP) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท ฟิวเจอร์เทค เอนเนอร์ยี่ เวนเจอร์ส จํากัด หรือ FTEV ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท.สผ. ชนะประมูลโครงการกรีนไฮโดรเจน ในโอมานสัญญายาว 47 ปี กําลังผลิต 2.2 แสนตันต่อปี คาดเริ่มได้ภายในปี 2573

Latest


บริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการชนะประมูลแปลงสัมปทาน โครงการผลิตกรีนไฮโดรเจน ในรัฐสุลต่านโอมาน โดยบริษัท ฟิวเจอร์เทค เอนเนอร์ยี่ เวนเจอร์ส จํากัด หรือ FTEV ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท.สผ. ร่วมกับกลุ่มผู้ร่วมทุน ประกอบด้วย บริษัท POSCO Holdings บริษัท Samsung Engineering Co., Ltd. บริษัท Korea East-West Power Co., Ltd บริษัท Korea Southern Power Co., Ltd, และ บริษัท MESCAT Middle East DMCC ได้ชนะการประมูลแปลงสัมปทานโครงการผลิตกรีนไฮโดรเจน ในรัฐสุลต่านโอมาน (โอมาน) และลงนามสัญญาพัฒนาโครงการ (Project Development Agreement) และสัญญาเช่า แปลงสัมปทาน (Sub-Usufruct Agreement) กับบริษัท Hydrogen Oman SPC (Hydrom) เพื่อเข้ารับสิทธิในการพัฒนาโครงการผลิตกรีนไฮโดรเจน ในแปลงสัมปทาน Z1-02 เป็นระยะเวลา 47 ปี โดยกลุ่มผู้ร่วมทุน จะทําการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) และการศึกษาเชิงเทคนิค (Technical study) รวมถึงประเมินมูลค่าการลงทุนของโครงการดังกล่าวต่อไป


โครงการผลิตกรีนไฮโดรเจนดังกล่าว ตั้งอยู่ในแปลง Z1-02 ซึ่งเป็นพื้นที่สัมปทานบนบก ในจังหวัดดูคุม ทางตะวันออกของประเทศโอมาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตกรีนไฮโดรเจนได้ในปี 2573 ด้วยกําลังการผลิตประมาณ 2.2 แสนตันต่อปี และใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน อาทิ แสงอาทิตย์และลม ขนาดประมาณ 5 กิกะวัตต์ (GW) การลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของบริษัทเพื่อการเติบโตในธุรกิจพลังงานสะอาด และช่วยสนับสนุนให้ ปตท.สผ. สามารถก้าวไปเป็นผู้ผลิตต้นนํ้าของพลังงานสะอาดได้ในอนาคต.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ