ทิสโก้รับหนี้เสียสูงขึ้น หลังเน้นปล่อยสินเชื่อกลุ่มรถยนต์ เล็งคุม NPL ไม่เกิน 2.5%

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ทิสโก้รับหนี้เสียสูงขึ้น หลังเน้นปล่อยสินเชื่อกลุ่มรถยนต์ เล็งคุม NPL ไม่เกิน 2.5%

Date Time: 9 พ.ค. 2566 13:49 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • ทิสโก้รับหนี้เสียสูงขึ้น หลังเน้นปล่อยสินเชื่อกลุ่ม high yield ได้แก่ รถยนต์ รถบรรทุก รถมอเตอร์ไซค์ เล็งคุม NPL ไม่เกิน 2.5%

Latest


นายชาตรี จันทรงาม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายควบคุมการเงิน และบริหารความเสี่ยง บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) เปิดเผยว่า ทิสโก้ ตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อปีนี้เติบโต 5-10% จากปีก่อน โดยคาดว่าจะมีการเติบโตได้ดีในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer Loan) เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ และเติบโตในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจ (Coporate Loan) เป็นหลัก ซึ่งเป็นโมเมนตัมที่ส่งต่อมาจากปีที่แล้ว อย่างไรก็ดีในภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงทำให้ต้องเลือกการขยายเพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งต้องรักษาคุณภาพมาร์จิ้นและคุณภาพพอร์ตเป็นหลัก

ขณะที่อัตราหนี้เสีย (NPL) ในไตรมาสที่ 1/66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 2.13% จากไตรมาสก่อนที่ 2.09% แต่เชื่อว่ายังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และสามารถรักษาระดับคุณภาพสินทรัพย์ที่มีอยู่เดิม แม้ว่าเศรษฐกิจจะดูมีความเปราะบางมากขึ้น

โดยประเมินทิศทาง NPL ในอนาคตอาจมีการเพิ่มขึ้นอีก หลังดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจในการขยายธุรกิจสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูงมากขึ้น (High Yield) ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อสูงขึ้นในบางกลุ่มเช่นกัน โดยแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ NPL จะทยอยเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่คำนวณไว้แล้ว (calculateted risk) ว่าคุ้มค่ากับการปล่อยสินเชื่อใหม่ แต่จะรักษาระดับให้อยู่ไม่เกิน 2.5% ใกล้เคียงกับระดับเดียวกันในอดีตที่ประมาณ 2-3% ซึ่งบริษัทจะรักษาคุณภาพส่วนนี้ไว้ให้ได้ดีที่สุด

สำหรับสินเชื่อผลตอบแทนสูง (High yield) เกือบทั้งหมด 99% เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถมอเตอร์ไซค์ และส่วนที่เหลือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น บ้านแลกเงิน และกลุ่มที่เป็นเครื่องจักรบางส่วน ซึ่งทิสโก้พยายามมุ่งเน้นการขยายการปล่อยสินเชื่อไปยังตลาดผู้บริโภคมากขึ้น (Consumer Loan Market) เนื่องจากมองว่ามีความต้องการสูง และเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ธุรกิจ

อย่างไรก็ดี มองว่าในภาวะอัตราหนี้สินครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบมีหลักประกันของผู้บริโภค จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยได้มาก เมื่อเทียบกับการกู้เงินแบบไม่มีหลักประกัน (clean personal loan) ที่อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 20% แต่ ณ ปัจจุบันทิสโก้ยังไม่มีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน เนื่องจากมองว่ายังมีความเสี่ยงมากเกินไป

นอกจากนี้ บริษัทยังตั้งเป้าขยายสาขา “สมหวังเงินสั่งได้” ปีนี้เพิ่มอีก 200 สาขา จากปีก่อนอยู่ที่ 450 สาขา โดยในไตรมาสที่ 1/66 ทำได้แล้ว 34 สาขา ซึ่งการเติบโตของสินเชื่อสมหวังเงินสั่งได้ถือเป็นช่องทางใหม่ โดยเน้นการปูพรมในท้องถิ่น หรือพื้นที่ที่ยังไม่มีสาขาของทิสโก้มาก่อน เพื่อหาลูกค้าในตลาดใหม่ๆ เข้ามา

สำหรับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นแรง ทำให้ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อ (Cost of fund) ปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้น มองว่าบริษัทมีกลยุทธ์ในการเพิ่มผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อได้ดีประมาณหนึ่ง ซึ่งในไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นราว 25 basis point ส่งผลให้สามารถบริหารส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ยังมีทิศทางที่เป็นบวก และเป็นไปตามแผนซึ่งพยายาม selective การปล่อยสินเชื่อใหม่ให้มีความสมเหตุสมผล และพยายามไม่แข่งขันด้านราคามากนัก.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ