หุ้นไทยคม ร่วง หลังประกาศชนะประมูลวงโคจรดาวเทียมกว่า 797 ล้านบาท บล.กรุงศรี มอง การชนะประมูลช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้น รับที่ผ่านมาราคาวิ่งเกินพื้นฐานไปไกล จับตา iPSTAR กดดันกำไรในอนาคต
ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ราคาหุ้นปรับตัวลดลกว่า XX% ในช่วงเช้าวันนี้ แม้ในช่วงเช้าวันนี้ บริษัทจะประกาศการได้แจ้งผลการประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ในช่วงเช้าวันนี้
นายสลิล จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารด้านกฎหมายและเลขานุการ บริษัทบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด (“STI”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยร้อยละ 100 ได้เข้าร่วมประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะ จัดชุด (Package) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2566 โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม (กสทช.) ได้ประกาศผลการประมูลว่า STI เป็นผู้ชนะการประมูลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้ วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package)
โดยบริษัทประมูลได้ชุดแพ็กเกจที่ 2 ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก ราคาสุดท้าย 380,017,850 บาท ในชุดที่ 3 ตำแหน่งวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก และ 120 องศาตะวันออก ราคาสุดท้าย 417,408,600 บาททั้งนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างรอการแจ้งผลประมูลอย่างเป็นทางการจาก กสทช. ซึ่งบริษัทจะแจ้งรายละเอียดให้ ทราบต่อไป
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี เปิดเผยว่า เรายังคงคำแนะนำขาย THCOM โดยปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 11.70 บาท จากเดิม 9.40 บาทหลังจากที่เราใส่มูลค่าของดาวเทียมใหม่จากการที่บริษัทประมูลได้ใบอนุญาตสองใบเมื่อวานนี้ เราคาดว่า มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่เพิ่มขึ้นมาถึงเท่าตัวในช่วงหกเดือนที่ผ่านมาได้สะท้อนถึงมูลค่าของดาวเทียมใหม่ และการขยายอายุการใช้งานดาวเทียมของ THCOM ไปเรียบร้อยแล้ว เรามองว่าหลังจากนี้ ราคาหุ้นน่าจะขยับตามศักยภาพของกำไร ซึ่งมีแนวโน้มจะลดลงในช่วงที่ดาวเทียมใหม่เริ่มใช้งานในปี 2569
THCOM ชนะประมูลใบอนุญาตสองใบสำหรับใช้งานวงโคจร 78.5E และ 119.5E ในการประมูลเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยราคาประมูลรวม 797 ล้านบาท (สูงกว่าราคาตั้งต้นประมาณ 5.3%) เราคิดว่า ไม่น่าแปลกใจที่ THCOM ชนะประมูลใบอนุญาตสองใบนี้ เพราะบริษัทใช้งาน TC-6 ในวงโคจร 78.5E และ TC-4 (หรือ iPSTAR) ในวงโคจร 119.5E อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้เราแปลกใจเล็กน้อยคือเราคิดว่า THCOM จะรอเข้าประมูลใบอนุญาตวงโคจร 78.5E ในการประมูลรอบหน้า เพราะดาวเทียม TC-6 ซึ่งใช้วงโคจร 78.5E ยังมีอายุการใช้งานอีก 6 ปีจนถึงปี 2572 ก่อนจะปลดระวาง (deorbit) สำหรับใบอนุญาตวงโคจร 119.5E นั้น THCOM ต้องประมูลให้ได้ในรอบนี้เพราะ iPSTAR มีอายุการใช้งานเหลืออีกเพียงสองปีจนถึงปี 2567 ก่อนที่จะปลดระวาง ทั้งนี้ เนื่องจากราคาประมูลไม่ต่างจากสมมติฐานของเรา ดังนั้น เราจึงยังคงประเมินว่าการชนะประมูลใบอนุญาตวงโคจร 119.5E จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ THCOM ประมาณ 1.3 บาท/หุ้น ส่วนใบอนุญาตควงโคจร 78.5E น่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ THCOM 1 บาท/หุ้น
ทั้งนี้จากราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นมาแรงมาก เราคิดว่าควรต้องมาดูกันดีๆ ว่าดาวเทียมแต่ละดวงจะสามารถสร้างรายได้และกำไรได้สูงกว่าสมมติฐานของเราได้แค่ไหน ทั้งนี้ เราใช้สมมติฐานว่ารายได้สูงสุดของดาวเทียมดวงใหม่ในวงโคจร 78.5E จะอยู่ที่ 1.5 พันล้านบาท และในวงโคจร 119.5E จะอยู่ที่ 3 พันล้านบาท ดังนั้น เราจึงเริ่มต้นจากคำถามว่า “ดาวเทียมใหม่สองดวงนี้นี้จะสามารถสร้างรายได้เกินกว่าระดับรายได้สูงสุด และเพิ่มมูลค่าให้กับ THCOM เกินกว่าสมมติฐานของเราได้หรือไม่?” คำตอบคือเป็นไปได้ แต่มีโอกาสน้อยมาก เพราะในวงโคจร 119.5E ดาวเทียมดวงใหม่ของ THCOM ต้องแข่งกับดาวเทียม Low Earth Orbit (LEO) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในอีกสิบปีนับจากนี้ เราคาดว่าจะเห็นดาวเทียม LEO เพิ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง LEO ได้เปรียบดาวเทียมแบบดั้งเดิม (traditional) อย่าง iPSTAR ในแง่ของสัญญาณที่แรงกว่า เพราะตั้งอยู่ใกล้ผิวโลกมากกว่า สำหรับวงโคจร 78.5E เรามองว่าอุปสงค์ของดาวเทียมดวงนี้มีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ เพราะ TV ดาวเทียมได้รับความนิยมลดลง โดยเฉพาะในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม คงคำแนะนำขาย แต่ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 11.70 บาท จากดาวเทียมใหม่ เราปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 11.70 บาท จากเดิม 9.40 บาท เนื่องจากเราใส่มูลค่าของดาวเทียมใหม่ในวงโคจร 78.5E และ 119.5E เข้ามาในแบบจำลอง แต่เรายังคงคำแนะนำขาย THCOM เพราะราคาหุ้นวิ่งขึ้นมาแล้วถึงเท่าตัวในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเราเชื่อว่าสะท้อนมูลค่าของใบอนุญาตใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว เราคิดว่าการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นหลังจากนี้จะขึ้นอยู่กับแนวโน้มผลประกอบการ ซึ่งเราเชื่อว่าผลประกอบการของบริษัทจะแย่กว่าวันนี้เมื่อ iPSTAR ปิดดำเนินการในปี 2568