XPG ลุยธุรกิจบริหารสินทรัพย์เต็มสูบ ตั้งเป้าปี 66 พอร์ตหนี้รวมแตะ 2-2.5 พัน ลบ.

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

XPG ลุยธุรกิจบริหารสินทรัพย์เต็มสูบ ตั้งเป้าปี 66 พอร์ตหนี้รวมแตะ 2-2.5 พัน ลบ.

Date Time: 18 ต.ค. 2565 18:14 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • XPG เดินหน้าประมูลหนี้มาบริหารต่อเนื่อง ตั้งเป้าปี 66 หนุนพอร์ตหนี้รวมแตะ 2,000 – 2,500 ล้านบาท ลุยเก็บ NPL และ NPA ล่าสุด บ.ลูก XSpring AMC ชนะประมูล NPL เติมพอร์ตกว่า 300 ล้านบาท

Latest


XPG เดินหน้าประมูลหนี้มาบริหารต่อเนื่อง ตั้งเป้าปี 66 หนุนพอร์ตหนี้รวมแตะ 2,000 – 2,500 ล้านบาท ลุยเก็บ NPL และ NPA ล่าสุด บ.ลูก XSpring AMC ชนะประมูล NPL เติมพอร์ตกว่า 300 ล้านบาท


วรางคณา อัครสถาพร กรรมการ บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็กซ์สปริง เอ เอ็ม ซี จำกัด หรือ XSpring AMC ธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ในเครือบริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XPG ประมูลซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เข้ามาบริหารจำนวนกว่า 300 ล้านบาท หลังจากชนะการประมูลหนี้จากสถาบันการเงินชั้นนำในประเทศ 2 แห่ง

ในปีนี้บริษัทยังมีแผนในการเข้าประมูลหนี้เพิ่มเติม เพื่อมาบริหารอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะประมูลหนี้จากสถาบันการเงินได้อีกไม่ต่ำกว่า 300 – 500 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทปรับเป้าหมายพอร์ตหนี้รวมปีนี้เป็น 800 – 1,000 ล้านบาท

ส่วนปีหน้า 2566 ตั้งเป้าจะทำการประมูลหนี้เข้ามาบริหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พอร์ตหนี้รวมทั้งหมดอยู่ที่ 2,000 – 2,500 ล้านบาท

สำหรับนโยบายการดำเนินธุรกิจของ XSpring AMC จะครอบคลุม ทั้งในส่วนของ NPL และทรัพย์สินรอการขาย (NPA)โดยปีนี้ในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทมีหนี้สำหรับการบริหารในพอร์ตอยู่จำนวนประมาณ 200 ล้านบาท รวมที่ประมูลเพิ่มมาได้อีกกว่า 300 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบันมีหนี้ในพอร์ตมูลค่ารวมประมาณ 500 ล้านบาท

ในช่วงไตรมาส 4 จะเห็นว่าสัญญาณการขายพอร์ตหนี้เสียของสถาบันการเงินเริ่มมีมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากครึ่งปีแรกที่ปริมาณหนี้เสียที่ถูกนำออกมาขายมีจำนวนไม่มาก เนื่องจากนโยบายผ่อนปรนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้านี้

แต่หลังจากนี้ไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า จำนวน NPL และ NPA จะเริ่มสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น 

ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันจะส่งผลให้ธุรกิจบริหารสินทรัพย์เติบโตได้ดีจากการที่สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและทั่วโลก ได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจากวิกฤติการระบาดของโควิด-19 จนถึงวิกฤติเงินเฟ้อ จึงทำให้มีหนี้เสียเข้ามาในระบบทั้ง NPL และ NPA เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าช่วงที่ผ่านมาสถาบันการเงินจะมีนโยบายผ่อนปรนเพื่อช่วยให้ลูกหนี้ไม่ให้กลายเป็นหนี้เสียมากกว่าปกติ แต่ก็มีลูกหนี้หลายรายที่แบกรับภาระหนี้ไม่ไหว จนทำให้ลูกหนี้เข้ามาอยู่ในระบบ NPL ซึ่งในธุรกิจบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพนั้น มีความคล่องตัว สามารถนำมาคัดแยกและบริหารจัดการต่อได้ดีกว่า ช่วยทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมขับเคลื่อนต่อไปได้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ