การบินไทย ไตรมาส 1/65 ขาดทุน 3,243 ล้าน เทียบกับปี 64 ขาดทุนลดลง 73.4%

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

การบินไทย ไตรมาส 1/65 ขาดทุน 3,243 ล้าน เทียบกับปี 64 ขาดทุนลดลง 73.4%

Date Time: 17 พ.ค. 2565 11:34 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • การบินไทยขาดทุนไตรมาส 1/65 แตะ 3,243 ล้าน เทียบกับปี 64 ขาดทุนลดลง 73.4% เตรียมปรับเพิ่มความถี่ตารางบินรับการเดินทางหลังโควิด แม้ต้นทุนราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้น

Latest


การบินไทยขาดทุนไตรมาส 1/65 แตะ 3,243 ล้าน เทียบกับปี 64 ขาดทุนลดลง 73.4% เตรียมปรับเพิ่มความถี่ตารางบินรับการเดินทางหลังโควิด แม้ต้นทุนราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 65 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/65 มีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 11,181 ล้านบาท สูงกว่าปี 64 ประมาณ 155% หรือ 6,797 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าเพิ่มขึ้น 6,719 ล้านบาท คิดเป็น 255.7%

โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 14,348 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2,967 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตหรือปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 3,167 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 3,830 ล้านบาท หรือ 54.7%

ทั้งนี้ไตรมาส 1/65 บริษัทขาดทุนสุทธิ 3,243 ล้านบาท ซึ่งขาดทุนลดลงจากไตรมาส 1/64 ที่ขาดทุนประมาณ 8,962 ล้านบาท หรือคิดเป็น 73.4% โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 3,247 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 1.49 บาท ในขณะที่ไตรมาส 1/64 ขาดทุนต่อหุ้น 5.59 บาท

ณ วันที่ 31 มี.ค. 65 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 162,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก วันที่ 31 ธ.ค. 64 จำนวน 1,204 ล้านบาท หนี้สินรวมมีจำนวน 236,909 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 4,439 ล้านบาท โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อยติดลบจำนวน 74,486 ล้านบาท ติดลบเพิ่มขึ้นจำนวน 3,235 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการขาดทุนจากการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

อย่างไรก็ตาม ช่วงไตรมาสที่ 1 ต่อเนื่อง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2/65 นี้ปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลจากการที่รัฐบาลนำมาตรการ Test and Go กลับมาใช้

ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้โดยสารรวมเฉลี่ยของบริษัทฯ และสายการบินไทยสมายล์ในช่วง 10 วันแรกของเดือนพ. ค. 65 เปรียบเทียบกับเดือนต.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 10,238 และ 10,870 คนต่อวันจาก 4,929 และ 269 คนต่อวัน สำหรับเส้นทางภายในประเทศและระหว่างประเทศตามลำดับ ขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าเฉลี่ยต่อวันของบริษัทฯ กลับไปอยู่ในระดับ 50% ของปี 62 ก่อนการแพร่ระบาดโควิด

นอกจากนี้ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/65 เป็นต้นไป การบินไทยและสายการบินไทยสมายล์ปรับเพิ่มความถี่เที่ยวบินไป-กลับในเส้นทางต่างๆ เพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารทั่วโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการแพร่ระบาดโควิด ที่เริ่มคลี่คลาย รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกทยอยยกเลิกหรือผ่อนคลายมาตรการควบคุมและจำกัดการเดินทางเพิ่มขึ้น

นอกจากการปรับเพิ่มความถี่เที่ยวบินและการเปิดให้บริการเส้นทางบินใหม่จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้ว สายการบินไทยสมายล์ยังจะเปิดทำการบินในเส้นจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปกลับจังหวัดภูเก็ต จำนวน 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. 65 เป็นต้นไปอีกด้วย



ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงการบริการเพื่อมอบประสบการณ์ลูกค้าที่เหนือระดับอย่างต่อเนื่อง อาทิ การให้บริการห้องโดยสารชั้นหนึ่งในเที่ยวบิน TG910/911 ในเส้นทางลอนดอน และ TG600/601 ในเส้นทางฮ่องกง ด้วยเครื่องบินแบบ Boeing 777-300ER ลำใหม่ ด้วยที่นั่งที่กว้างขวางขึ้น จอภาพที่ใหญ่ขึ้น และระบบสื่อสาระบันเทิงที่ครบครันกว่าพันรายการ พร้อมรังสรรค์เมนูอาหารนานาชาติ ที่ผลิตด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง รสเลิศ

นอกจากนี้ บริษัทกำลังจะนำบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือ Inflight Wi-Fi กลับมาให้บริการ พร้อมนำเสนอ ระบบหนังสือดิจิทัล (e-Reading Platform) สำหรับผู้โดยทุกชั้นบริการในเร็วๆ นี้ เพื่อความสะดวกสบาย และสร้างประสบการณ์การเดินทางที่ประทับใจอีกด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ