การบินไทย โชว์กำไรปี 64 แตะ 55,113 ล้าน หลังปรับโครงสร้างหนี้ ขายสินทรัพย์ ปรับโครงสร้างค่าตอบแทนบุคลากร
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ได้แจ้งงบการเงินของบริษัท และบริษัทย่อย สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 64 ต่อรายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET ว่า บริษัทมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) ทั้งสิ้น 23,747 ล้นบาท ต่ำกว่าปีก่อน 24.684 ล้นบาท (51%) สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 24,599 ล้านบาท (59.9%) รายได้จากการบริการอื่นๆ ลดลง 1,545 ล้นบาท (23.2%)
ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทงระหว่างประเทศทั้งของประเทศไทยและประเทศต่างๆ แต่มีรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 1,460 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการรับรู้รายได้ที่เกิดจากข้อตกลงระงับข้อพิพาทเรียกร้องค่าเสียหายที่เกี่ยวข้องกับการชำรุดของเครื่องยนต์
โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 43,449 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 40.396 ล้านบาท (48.2%) เนื่องจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่แปรผันตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่งลดลง และมีการดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายตามแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปจากการที่ไม่สามารถทำการบินได้ตามปกติ
ทั้งนี้ ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 19,702 ล้านบาท แต่ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 15,712 ล้านบาท (44.49) นอกจากนั้นยังมีต้นทุนทางการเงินจำนวน 9,490 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 2,704 ล้านบาท (22.2%)
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นรายได้รวม 81,525 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ การปรับโครงสร้างองค์กร และโครงสร้างค่าตอบแทนบุคลากร และกำไรจากการขายเงินลงทุนและทรัพย์สิน
โดย บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีผลการดำเนินงานในปี 64 กำไรสุทธิจำนวน 55,113 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนสุทธิ 141,180 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 55,118 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 25.25 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 64.67 บาท
ณ วันที่ 31 ธ.ค. 64 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมจำนวน 161.219 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 63 จำนวน 48,078 ล้านบาท (23%) หนี้สินรวมมีจำนวน 232,470 ล้านบาท ลดลงจากลดลงจากงวดเดียวกันของปี 63 จำนวน 105,492 ล้านบาท (31.29) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ติดลบจำนวน 71,251 ล้านบาท ติดลบลดลงจากลดลงจากงวดเดียวกันของปี 63 จำนวน 57,414 ล้านบาท เนื่องจากปี 64 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ
ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอมิครอนที่ทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลให้ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมฯ โดยการยกเลิกมาตรการ Test and Go ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค. 564 ทำให้จำนวนผู้โดยสารต่อวันของบริษัทฯ ในเดือนม.ค.-ก.พ. 65 ลดลงกว่า 20% จากในเดือนธ.ค. 64
อย่างไรก็ดี การที่ภาครัฐนำมาตรการ Test and Go มาใช้อีกครั้งหนึ่ง และประเทศปลายทาง อาทิ เยอรมนี อังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ก ออสเตรเลีย เนปาล ฯลฯ ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทาง นับเป็นสัญญาณดีที่ทำให้ความต้องการเดินทางเริ่มกลับมาปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง บริษัทฯ จึงมีแผนเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางต่างๆ อาทิ ลอนดอน แฟรงก์เฟิร์ต โคเปนเฮเกน ซูริก สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์
รวมถึงเปิดให้บริการสู่จุดหมายปลายทางใหม่เพิ่มเติม อาทิ เมลเบิร์นในประเทศออสเตรเลีย และจุดหมายปลายทางในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/65 นี้เป็นต้นไป ในขณะที่สายการบินไทยสมายล์ได้เปิดให้บริการในเส้นทางร้อยเอ็ดและตรังจากสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งเปิดให้บริการจากสนามบินดอนเมืองไปยังเชียงใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังมุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการหารายได้ด้านการขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์และบริการคลังสินค้า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้หลักแก่บริษัทฯ ในช่วงที่การขนส่งผู้โดยสารยังมีข้อจำกัดจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านมา มีการเติบโตด้านรายได้อย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้รวมกว่า 10,000 ล้านบาท หรือเกือบ 50% ของรายได้รวมของบริษัทฯ ในปี 64 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการจัดหาสินเชื่อใหม่วงเงิน 25,000 ล้านบาทจากสถาบันการเงิน เพื่อนำมาเป็นเงินทุนสนับสนุนการฟื้นฟูกิจการในปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะลงนามสัญญาสินเชื่อใหม่ได้ภายในเดือนมีนาคม ศกนี้ รวมถึงจัดทำร่างแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ โดยปรับปรุงสาระสำคัญเรื่องโครงสร้างสินเชื่อใหม่ที่ไม่ก่อภาระต่อภาครัฐในการสนับสนุน และการปรับโครงสร้างทุนซึ่งจะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวกได้เร็วขึ้น โดย บริษัทฯ จะยื่นการแก้ไขแผนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามขั้นตอนของกฎหมายตามลำดับต่อไป