การบินไทย โชว์ครึ่งปีแรก 64 กำไรสุทธิ 11,125 ล้าน หลังทยอยขายสินทรัพย์

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

การบินไทย โชว์ครึ่งปีแรก 64 กำไรสุทธิ 11,125 ล้าน หลังทยอยขายสินทรัพย์

Date Time: 16 ส.ค. 2564 13:59 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • การบินไทย โชว์ครึ่งปีแรก 64 กำไรสุทธิ 11,125 ล้านบาท หลังทยอยขายสินทรัพย์ หุ้น BAFS และหุ้น NOK ขณะที่ SET ขึ้นเครื่องหมาย SP, NP เพราะผู้สอบบัญชีไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงิน

Latest


การบินไทย โชว์ครึ่งปีแรก 64 กำไรสุทธิ 11,125 ล้านบาท หลังทยอยขายสินทรัพย์ หุ้น BAFS และหุ้น NOK ขณะที่ SET ขึ้นเครื่องหมาย SP, NP เพราะผู้สอบบัญชีไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงิน

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ประกาศผลการดำเนินงานงานงวดครึ่งปีแรก 64 ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 10,220 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 11,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 63 ที่มีผลขาดทุน 28,016.46 ล้านบาท

ในส่วนของรายได้ 10,220 ล้านบาท ตํ่ากว่าปี 63 ประมาณ 30,273 ล้านบาท หรือ 74.8% โดยสาเหตุสําคัญจากทั้งรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 30,486 ล้านบาท (84.2%) ส่วนรายได้จากการบริการอื่นๆ ลดลง 1,417 ล้านบาท (35.5%) เพราะมาตรการจํากัดการเดินทางระหว่างประเทศทั้งของประเทศไทยและประเทศต่างๆ แต่มีรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 1,630 ล้านบาท

สําหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 24,555 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 34,246 ล้านบาท (58.2%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายดําเนินงานที่แปรผันตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่ง และการดําเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายอยางเข้มงวด แต่ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป ส่งผลให้ขาดทุนจากการดําเนินงาน 14,335 ล้านบาท แต่ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 3,973 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 25,899 ล้านบาท ประกอบด้วย

- กำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) หรือ BAFS จํานวน 2,004 ล้านบาท

- กำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์ จํากัด (มหาชน) หรือ NOK จํานวน 95 ล้านบาท

- กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ จํานวน 8,675 ล้านบาท

- เงินชดเชยโครงการร่วมใจจากองค์กร 4,896 ล้านบาท

- เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างพนักงาน 613 ล้านบาท

- รายการปรับปรุงผลประโยชน์พนักงาน 8,323 ล้านบาท จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริษัทฯ และผลประโยชน์ของพนักงาน

- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์สิทธิการใช้และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน จํานวน 18,459 ล้านบาท

- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จํานวน 163 ล้านบาท

- ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจํานวน 6,311 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รวมหนี้สินตามสัญญาเช่าดําเนินงานเครื่องบิน ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 (อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่นี่)

โดยการนำส่งงบการเงินสำหรับ 6 เดือนแรกที่สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย. 64 ของบริษัทซึ่งผู้สอบบัญชีได้สอบทานและรับรองงบการเงิน โดยไม่ได้แสดงความเห็นด้วยเหตุที่ได้พิจารณาสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนต่อการดำเนินงานของบริษัทดังต่อไปนี้ 1.การขาดสภาพคล่องทางการเงินและการผิดนัดชำระหนี้ 2.ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และ 3.การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ (อ่านทั้งหมดที่นี่)

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในเวลาต่อมา SET ได้ขึ้นเครื่องหมาย SP, NP ของการบินไทย เพราะผู้สอบบัญชีไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2564 ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต.อาจสั่งการให้บริษัทแก้ไขงบการเงินได้. 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ