ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 27 ก.พ.62 ปิดที่ 1,665.27 จุด บวก 1.71 จุดมีมูลค่าซื้อขาย 52,569.99 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 640.04 ล้านบาท
หุ้นมูลค่าการซื้อขายสูงสุด CPALL ปิด 78.50 บาท ลบ 1.50 บาท, IVL ปิด 52.25 บาท บวก 3 บาท, PTTGC ปิด 72.75 บาท ลบ 0.50 บาท, PTT ปิด 49.25 บาท บวก 0.25 บาท, TMB ปิด 2.32 บาท บวก 0.04 บาท
ตลาดแกว่งตัวทั้งในแดนบวกและลบ โดยนักลงทุนรอติดตามความชัดเจนของปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยศาล รธน.นัดลงมติวินิจฉัยคำร้องยุบพรรค ทษช.วันที่ 7 มี.ค.นี้
บล.เอเซียพลัส ระบุว่า จนถึงวันที่ 26 ก.พ. มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบแล้ว 353 บริษัท คิดเป็น 82% ของ Market Cap. ซึ่งมีกำไรสุทธิรวม 1.44 แสนล้านบาท
หากเทียบกับ 4Q60 เฉพาะบริษัทที่ประกาศงบแล้ว พบว่าลดลงถึง 37.3%yoy และเทียบกับ 3Q61 กำไรสุทธิลดลงถึง 39.4%qoq
ซึ่งผลประกอบการรวมของตลาดที่ต่ำกว่าคาด มีความเป็นไปได้เมื่อประกาศครบ 100% แล้ว กำไรสุทธิรวมจะต่ำกว่าประมาณการเดิม!!
ขณะที่ปี 62 อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการ ซึ่งอาจปรับลด EPS เดิมที่ 112.2 บาทต่อหุ้น ลงเล็กน้อย!!
ส่วนกรณี การควบรวม TMB+TCAP เบื้องต้นประเมินว่าดีลนี้จะกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิม TBANK ซึ่งจะมีส่วนแบ่งใน TMB หลังเพิ่มทุนเพียง 42.9% ต่ำกว่าที่ประเมิน 60% (ภายใต้สมมติฐานเดิมที่กำหนดให้แลกหุ้นกันตรงๆ) ตรงข้ามกับผู้ถือหุ้นเดิม TMB กลับมีส่วนโดยรวมเพิ่มขึ้นกว่าคาดทุกราย ทั้ง ING Bank คลัง และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ
ขณะที่ บล.ทรีนีตี้ คาดว่าจำนวนหุ้นที่เป็น RO สำหรับผู้ถือหุ้นเดิม TMB จะสูงสุดไม่เกิน 6.8 พันล้านหุ้น หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มทุนที่ราว 15 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ เบื้องต้นมองว่าผู้ถือหุ้น TMB เดิมจะไม่ได้รับผลกระทบด้าน Price Dilution และ Earning Dilution แม้จะได้รับเพิ่มทุน RO หรือไม่ก็ตาม
เนื่องจากมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนคิดเป็น P/BV อยู่ที่ 1.1 เท่า สูงกว่าปัจจุบันที่ซื้อขายกันที่ 1 เท่า สำหรับผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เพิ่มทุนอาจทำให้เกิด Control Dilution ได้
ขณะที่หลังควบรวมธนาคารจะได้ประโยชน์ทางภาษีหลายรายการ และจะได้รับยกเว้นภาษีรายจ่าย 1.25 เท่า
ประกอบกับ Economies of Scale และการขายแบบ Cross–selling ตามฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น จะช่วยหนุนให้รายได้เพิ่ม แต่รายจ่ายจะลดลงในอนาคต แนะนำ “ซื้อ”!!
อินเด็กซ์ 51