ออมทอง กับ แชร์ลูกโซ่ ต่างกันอย่างไร รู้ไว้ไม่โดนหลอก

Investment

Gold

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ออมทอง กับ แชร์ลูกโซ่ ต่างกันอย่างไร รู้ไว้ไม่โดนหลอก

Date Time: 28 เม.ย. 2567 07:08 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Latest


ราคาทองคำกำลังทำสถิติใหม่ราคาทะลุ 4.1 หมื่นบาทต่อบาททองคำ ราคาปรับตัวขึ้นมาจากต้นปีมากกว่า 10% ทำให้ใครหลายคนเริ่มสนใจที่จะเข้ามาลงทุนทองคำมากขึ้น ซึ่งกระแสของการลงทุนในทองคำ และการออมทองมักเป็นตัวเลือกหนึ่ง ที่คนอยากลงทุนมักมองเป็นทางเลือกเสมอ

ด้วยจุดเด่น คือ ใช้เงินน้อย จ่ายเป็นรายเดือน ก็สร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ แต่ในระยะหลังมักจะพบผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่า มีการหลอกการลงทุนผ่านออมทอง แต่แท้จริงแล้วเป็นแชร์ลูกโซ่ และสร้างความเสียหายกับนักลงทุนจำนวนมาก Thairath Money มีข้อสังเกต ง่ายๆ ว่า แบบไหน คือ ออมทอง และแบบไหน คือ แชร์ลูกโซ่ จะทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

1. ออมทอง ไม่มีจ่ายปันผล หรือดอกเบี้ย 

ออมทองคำวันละ 500 บาท รับเงินปันผลทุกสัปดาห์ 250 บาท ถ้าคุณเจอข้อความแบบนี้ให้ตีความได้เลยว่า “หลอกลงทุน” เพราะการลงทุนในทองคำ หรือออมทองคำนั้น คือ การซื้อทองคำสะสมซื้อมาเก็บ ซึ่งผลตอบแทนจะมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งจะไม่เหมือนกับหุ้นที่ลงทุนในกิจการและจะได้รับเงินปันผลตามผลกำไรที่บริษัททำได้ 

ดังนั้นเมื่อเห็นคำว่า ออมทอง พร้อมจ่ายปันผล จึงตั้งข้อสังเกตได้ว่า หลอกแน่นอน 


2.  ไม่ชักชวนคนให้ลงทุนเพิ่ม

วิธีแยกระหว่างแชร์ลูกโซ่ กับการลงทุนทองคำแบบออมทอง คือ แชร์ลูกโซ่ มักจะชักชวนให้ผู้ลงทุนหาสมาชิกเพิ่ม ยิ่งหาได้เพิ่มเท่าไร ยิ่งได้รับผลตอบแทนมากขึ้นแบบทวีคูณ แบบนี้ตั้งข้อสังเกตได้เลยว่า เป็นแชร์ลูกโซ่อย่างแน่นอน ดังนั้นอย่าหลงเชื่อวิธีการหลอกลงทุนด้วยการหาสมาชิกเพิ่ม เพราะนอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับตัวเราในฐานะผู้ลงทุน ยังเสี่ยงสร้างความเสียหายให้กับผู้ที่ถูกชักชวน และเสี่ยงถูกคดีความฟ้องร้องด้วย 

3. เลือกใช้บริการกับบริษัทที่น่าเชื่อถือ 

การลงทุนแบบออมทองคำ มักจะเป็นรูปแบบทยอยซื้อเป็นรายเดือน และนำทองที่เราซื้อฝากกับผู้ให้บริการ ดังนั้นเมื่อเราออมมากขึ้นเรื่อยๆ มูลค่าเงินลงทุนก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นการฝากทองคำนั้นควรทำกับผู้ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า การลงทุนในรูปแบบออมทอง ไม่เหมือนกับการลงทุนในตลาดหุ้นที่มีผู้กำกับดูแลโดยตรง ดังนั้นผู้ที่จะออมทองคำ ต้องเลือกผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์และมีความมั่นคงแข็งแรงของธุรกิจสูง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 

4. ไม่โอนเงินเข้าบัญชีบุคคล

ข้อสังเกตสุดท้ายในการออมทอง หรือการลงทุนทุกชนิดนั้น ก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุน หรือจะใส่เงินลงทุนเพิ่ม ควรสังเกตบัญชีปลายทางที่จะโอนเงินว่าเป็นบัญชีประเภทไหน และโอนไปที่ใด โดยหากเราตกลงที่จะลงทุน แล้วจะโอนเงินเพิ่มเติมพอร์ต บัญชีปลายทางควรเป็นชื่อบริษัท หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนของบริษัทที่เราจะลงทุน ควรเลี่ยงการโอนเงินผ่านบัญชีบุคคล เพราะอาจเป็นบัญชีม้าที่หลอกเหยื่อแล้วพร้อมโอนเงินออกทันทีที่เราโอนเงินเข้าไปได้ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ