จับตา Resenteeism เทรนด์อันตราย ทำคน Gen Z กว่าครึ่ง “ฝืน” ทำงานที่ไม่ชอบ เพราะไม่มีที่ไป

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จับตา Resenteeism เทรนด์อันตราย ทำคน Gen Z กว่าครึ่ง “ฝืน” ทำงานที่ไม่ชอบ เพราะไม่มีที่ไป

Date Time: 26 เม.ย. 2567 11:25 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • รู้จัก Resenteeism ภัยเงียบคนทำงาน ร้ายแรงกว่า Quiet Quitting ทำคน Gen Z กว่าครึ่ง “ฝืน” ทำงานที่ไม่ชอบ เพราะไม่มีที่ไป เสี่ยงทำองค์กรเสียระบบ

Latest


ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัททั่วโลกตื่นตัวกับเทรนด์ “Quiet Quitting” หรือการลาออกแบบเงียบๆ ในใจ ที่บั่นทอนศักยภาพการทำงานขององค์กร โดยพนักงานบางคนหันมารับผิดชอบงานตามหน้าที่ไปวันๆ ไร้แรงผลักดันที่จะพัฒนาตัวเอง เพราะหมดไฟ แต่ในปีนี้การเกิดขึ้นของ “Resenteeism” นั้นส่งผลกระทบที่ร้ายแรงกว่ามาก และเป็นเรื่องที่เหล่านายจ้างหรือบริษัทต้องจับตา เพื่อหาแนวทางรับมือ


รู้จัก Resenteeism ภัยเงียบคนทำงาน


แม้ “Quiet Quitting” และ “Resenteeism” จะมีจุดร่วมกันคือ ภาวะการหมดไฟของพนักงาน แต่เทรนด์ล่าสุดนอกจากพนักงานจะหมดไฟ เลิกทุ่มเทให้องค์กรแล้ว ยังไม่รับผิดชอบงานของตัวเองอีกด้วย โดยเลือกที่จะทำงานส่งๆ สร้างความผิดพลาด เพราะความไม่พอใจกับงานในปัจจุบัน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความไม่ชอบในตัวงาน แต่ยังหางานใหม่ไม่ได้ และไม่มั่นใจในความสามารถตัวเอง ทำให้ต้องฝืนทำงานที่ไม่ชอบจนเกิดเป็นความเครียด นำไปสู่พฤติกรรม “ต่อต้านการทำงาน” ขึ้นมานั่นเอง


ผลสำรวจของ CNBC SurveyMonkey ที่ทำการสำรวจแรงงานในสหรัฐฯ พบว่า แม้ปัจจุบันดัชนีความสุขของพนักงานจะยังคงทรงตัว อยู่ที่ระดับ 72 คะแนน ซึ่งสูงกว่า 71 คะแนนในเดือนธันวาคม 2566 แต่คน Gen Z กลับมีความกระตือรือร้นน้อยที่สุดในการทำงาน


โดย 47% ของคน Gen Z กล่าวว่าพวกเขากำลังทำงานแบบไร้จุดหมาย มีเพียง 40% เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขาประสบความสำเร็จ สวนทางกับคนรุ่นก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่รู้สึกมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 


นอกจากนี้คนรุ่นใหม่ 42% ยังมีแนวโน้มทำงานเพื่อเงินเดือน ในขณะที่คนรุ่นก่อนหน้ามีมีไฟในการทำงานมากกว่า สะท้อนผ่านสถิติการลาออกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยคน Gen Z มีอัตราการอยากลาออกสูงสุด เมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่นๆ นอกจากจะรู้สึกมีส่วนร่วมกับงานน้อยที่สุดแล้ว Gen Z ยังพบว่า งานในความความรับผิดชอบของตัวเอง ไม่สร้างแรงบันดาลใจอีกด้วย ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวมาจากการไม่มีอิสระในการทำงาน โดยคน Gen Z ประมาณ 21% กล่าวว่าพวกเขารู้สึกมีอิสระในการทำงานน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่นๆ 

ความมีอิสระ เพื่อนร่วมงาน ช่วยเติมไฟคนรุ่นใหม่


แม้แต่ Gen Z จะเป็นเจเนอเรชันที่อินกับงานน้อยที่สุด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนเจนนี้ ขี้เกียจทำงาน จากผลสำรวจพบว่า Gen Z กว่า 92% ให้ความสำคัญกับงานที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วม ดังนั้นวิธีป้องกันไม่ให้พนักงานรุ่นใหม่ ตกอยู่ในภาวะ Resenteeism ไม่ใช่การรอให้พวกเขาโตขึ้น มีความรับผิดชอบระดับบริหาร และชินชากับการทำงานไปเอง แต่เป็นการสร้างแรงจูงใจในที่ทำงานที่นอกเหนือจากการให้เงินเดือนสูงๆ


โดยผลสำรวจระบุว่า 24% ของคน Gen Z ชอบความมีอิสระในงานทำงาน และ 25% ชอบที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มากกว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลหรือ Gen X ทั้งนี้บริษัทสามารถป้องกันภาวะ Resenteeism ที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กรได้ตามนี้


อันดับแรก ให้โอกาสพนักงานได้ทำงานร่วมกันมากขึ้น เนื่องจากรูปการทำงานหลังช่วงโควิด-19 เปลี่ยนไปเป็นแบบไฮบริด ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องทำงานผ่าน หน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ค่อยได้เจอสังคม การสร้างสภาพแวดล้อมให้พนักงาน สามารถทำงานด้วยกันแบบเจอหน้า จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนรุ่นใหม่มองหา 


นอกจากนี้นายจ้างควรเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในงานของตัวเองมากขึ้น ผ่านการนำเสนอความคิดเห็น ออกแบบวิธีการทำงานที่ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสม สำหรับพนักงานแต่ละคนทั้งนี้การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนรู้สึกเหมือนเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ จะผลักดันให้พนักงานทุ่มเทกับการทำงานมากขึ้น

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ