คนจีนติดแบล็กลิสต์ ไม่จ่ายหนี้เป็นประวัติการณ์ โอดบทลงโทษรัฐบาลซ้ำเติมไม่ให้ตั้งตัว

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คนจีนติดแบล็กลิสต์ ไม่จ่ายหนี้เป็นประวัติการณ์ โอดบทลงโทษรัฐบาลซ้ำเติมไม่ให้ตั้งตัว

Date Time: 5 ธ.ค. 2566 11:23 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • คนจีนผิดนัดชำระหนี้จนติดแบล็กลิสต์พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่การระบาดโควิด-19 สะท้อนถึงปัญหาหนี้สะสมที่ฝังรากลึกในภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเป็นอุปสรรคที่ฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ

Latest


จำนวนคนจีนผิดนัดชำระหนี้พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่การระบาดโควิด-19 สะท้อนถึงปัญหาหนี้สะสมที่ฝังรากลึกในภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเป็นอุปสรรคที่ฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ


ศาลท้องถิ่นระบุว่า คนจีนจำนวน 8.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ถูกแบล็กลิสต์จากรัฐบาล หลังจากผิดนัดการชำระหนี้ทุกอย่าง ตั้งแต่การจำนองบ้านไปจนถึงสินเชื่อธุรกิจ


สอดคล้องกับรายงานของสถาบันการเงิน และการพัฒนาแห่งชาติจีน (NIFD) โดยหนี้ครัวเรือนของจีนอยู่ที่ 64% ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตของอัตราค่าจ้างที่ชะลอตัวลงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้คนจีนจัดการภาระผูกพันทางการเงินยากมากขึ้น


เมื่อเงินสดขาดมือมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประสบปัญหาในการหาเงินเลี้ยงชีพ หลายคนจึงต้องหยุดการชำระหนี้กลางคัน อีกทั้งคนจีนจำนวนมากกำลังดิ้นรนเพื่อหางานทำ ส่งผลให้อัตราการว่างงานในเด็กจบใหม่พุ่งแตะระดับ 21.3% ในเดือนมิถุนายน จนรัฐบาลจีนต้องประกาศหยุดรายงานข้อมูลดังกล่าวที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


China Merchants Bank กล่าวว่า ในปี 2565 หนี้เสียจากการค้างชำระหนี้บัตรเครดิต 90 วัน เพิ่มขึ้น 26% จากปีก่อน นอกจากนี้ China Index Academy รายงานว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มีการยึดทรัพย์ในจีนถึง 584,000 ครั้ง โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 1 ใน 3 จากปีก่อนหน้า


ภายใต้กฎหมายจีน ผู้ผิดนัดชำระหนี้ที่ถูกขึ้นแบล็กลิสต์จะถูกแบนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋วเครื่องบิน และการชำระเงินผ่านแอปฯ มือถืออย่าง Alipay และ WeChat Pay รวมถึงสั่งห้ามไม่ให้ครอบครัวของผู้ผิดนัดชำระหนี้ทำงานราชการ และบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นห้ามใช้ทางด่วน โดยข้อจำกัดของรัฐบาลจีนนอกจากจะยิ่งซ้ำเติมลูกหนี้แล้วยังเป็นการฉุดรั้งเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการวิกฤติความตกต่ำในภาคอสังหาริมทรัพย์ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่หดตัวลงให้ย่ำแย่ลงไปอีก. 

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ