จีนหวังฟื้นเศรษฐกิจ เล็งขาดดุลเพิ่ม 1.3 แสนล้านดอลลาร์ ฉีดเงินสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จีนหวังฟื้นเศรษฐกิจ เล็งขาดดุลเพิ่ม 1.3 แสนล้านดอลลาร์ ฉีดเงินสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

Date Time: 11 ต.ค. 2566 18:45 น.

Video

บัญชีม้า เกลื่อนเมือง คนไทยอยู่อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ ? | Money Issue

Summary

  • รัฐบาลจีน พิจารณาเพิ่มการขาดดุลงบประมาณ 1.3 แสนล้านดอลลาร์ (4.7 ล้านล้านบาท) เพื่ออัดฉีดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน กระตุ้นภาคเอกชน ลดภาระหนี้รัฐบาลท้องถิ่น หวังฟื้นเศรษฐกิจประเทศให้โตตามเป้าหมาย

Latest


สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า จีนกำลังพิจารณาเพิ่มการขาดดุลงบประมาณปี 2566 ขณะที่รัฐบาลเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตตามกรอบเป้าหมายที่ 5%


โดยผู้กำหนดนโยบายกำลังชั่งน้ำหนัก การออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติม อย่างน้อย 1.3 แสนล้านดอลลาร์ (4.7 ล้านล้านบาท) สำหรับการใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการอนุรักษ์น้ำ ซึ่งอาจทำให้การขาดดุลงบประมาณในปีนี้สูงกว่ากรอบที่กำหนดไว้ที่ 3% และคาดว่าจะมีการประกาศขายพันธบัตรอย่างเร็วที่สุดภายในเดือนนี้ 


การเพิ่มเพดานการขาดดุลงบประมาณ จะทำให้รัฐบาลสามารถขายพันธบัตรได้มากขึ้น เพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และลดแรงกดดันในการจ่ายดอกเบี้ยของหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการออกขายพันธบัตรพิเศษที่มีราคาแพงกว่า


การเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้นำระดับสูงของจีน เกี่ยวกับเส้นทางการขึ้นเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก ซึ่งขณะนี้จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก 

แต่ผลกระทบที่ต่อเนื่องจากช่วงโควิด ประกอบกับปัญหาฟองสบู่แตกที่เกิดขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ หนี้รัฐบาลท้องถิ่น และภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ล้วนเป็นระเบิดเวลาที่ฉุดการเติบโตของจีนในปีนี้ เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ที่แม้จะเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ และหนี้สาธารณะ แต่เศรษฐกิจยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง 


นอกจากนี้ ยังสะท้อนถึงจุดเปลี่ยน การดำเนินนโยบายทางการคลังของรัฐบาล เนื่องจากช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้พยายามรักษาวินัยทางการคลัง โดยไม่นับรวมพันธบัตรพิเศษ หรือหนี้รัฐบาลท้องถิ่น (LGFV) เพื่อควบคุมการขาดดุลงบประมาณให้ต่ำกว่า 3% ของ GDP 


ทั้งนี้ การเติบโตที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง จะยิ่งเพิ่มความกดดันให้กับเงินหยวนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ส่งผลให้เงินทุนไหลออกนอกประเทศ และสร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้น รวมถึงกดดันให้สถานการณ์การว่างงานในประเทศแย่ลง จากปริมาณการจ้างงานใหม่ที่น้อยลง 

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ