นักวิเคราะห์เตือน สหรัฐฯ อาจเกิดสึนามิพันธบัตร จากผลกระทบแก้เพดานหนี้

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

นักวิเคราะห์เตือน สหรัฐฯ อาจเกิดสึนามิพันธบัตร จากผลกระทบแก้เพดานหนี้

Date Time: 7 มิ.ย. 2566 10:56 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • หลังจากประธานาธิบดี โจ ไบเดน ลงนามรับรองกฎหมายระงับเพดานหนี้ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา (ตามเวลาสหรัฐฯ) ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าจะทำให้เกิดสึนามิพันธบัตรสหรัฐฯ ระลอกใหญ่ เนื่องจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ จะทำการออกพันธบัตรรอบใหม่ มูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากหยุดชะงักมาหลายเดือน

Latest


จากกรณีที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ลงนามรับรองกฎหมายระงับเพดานหนี้ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา (ตามเวลาสหรัฐฯ) นั้น นักวิเคราะห์คาดว่า การลงนามจะทำให้เกิดสึนามิพันธบัตรสหรัฐฯ ระลอกใหญ่รอบใหม่ เนื่องจากเป็นการไฟเขียวให้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกพันธบัตรรอบใหม่ หลังจากหยุดชะงักมาหลายเดือน


โดยกระทรวงการคลังได้ประกาศระงับการออกพันธบัตร ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม เนื่องจากรัฐบาลกู้เงินถึงระดับสูงสุดของวงเงินหนี้ที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว หลังจากที่หนี้ของสหรัฐฯ ทะลุเพดานที่กำหนด กระทรวงการคลังได้ใช้มาตรการทางบัญชีพิเศษ เพื่อให้รัฐบาลยังสามารถชำระเงินตามภาระผูกพันที่มีทั้งหมดได้ ในขณะที่เหลือเงินสดอยู่เพียง 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม


ต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน ยอดเงินคงเหลือของกระทรวงการคลังลดลงต่ำกว่า 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าต่ำจนเป็นอันตราย เพราะจะส่งผลให้เกิดความผันผวนต่อรายรับ และการชำระเงินของรัฐบาลกลางในแต่ละวัน

 

กฎหมายระงับเพดานหนี้จะมีผลในการระงับวงเงินหนี้ไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 ทำให้กระทรวงการคลังมีเวลาในการฟื้นฟูเงินสดขึ้นมาใหม่ ให้อยู่ในระดับปกติมากขึ้น และเมื่อต้นเดือนที่แล้วได้กำหนดระดับเงินสดคงเหลืออยู่ที่ 550,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสิ้นเดือนมิถุนายน จาก 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การขาดดุลการคลังที่มากขึ้น ยังสร้างแรงกดดันให้กระทรวงการคลังในการกู้เงินเพิ่ม


นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การประมูลพันธบัตรสหรัฐฯ มูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่กำลังจะมีขึ้นเร็วๆ นี้ อาจส่งผลที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดการดูดสภาพคล่องออกจากภาคธนาคาร เนื่องจากนักลงทุนอาจแห่ถอนเงินไปลงทุนในพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงิน และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยการระดมทุนระยะสั้น อีกทั้งยังเพิ่มแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย เช่นเดียวกับ Bank of America Corp. ที่ได้มีการประเมินว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากคลื่นการออกพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อาจมีผลกระทบในระดับเดียวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ผ่านมา


นอกจากนี้ ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กระทรวงการคลังเปิดเผยว่า มีแผนที่จะเพิ่มขนาดการเสนอขายพันธบัตรระยะสั้น อายุ 3 เดือน และ 6 เดือน มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อฉบับ ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ