จับตา 1 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครน หวั่นซ้ำวิกฤติน้ำมัน ปูตินประกาศกร้าว ลดแผนการผลิต-ส่งออกตะวันตก

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จับตา 1 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครน หวั่นซ้ำวิกฤติน้ำมัน ปูตินประกาศกร้าว ลดแผนการผลิต-ส่งออกตะวันตก

Date Time: 24 ก.พ. 2566 17:04 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • ครบรอบ 1 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครน สำรวจการคว่ำบาตรทางพลังงาน พร้อมจับตาราคาน้ำมันปรับตัว หลังรัสเซียตอบโต้ชาติตะวันตก ลดการผลิตและส่งออกสู่ตะวันตก 25% เริ่มมีนาคมนี้

Latest


ทันทีหลังการรุกรานของรัสเซีย ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นทั่วโลกถึง 20% เป็นเวลาห้าเดือนติดต่อกัน วันที่ 24 ก.พ. 2565 น้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 92.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมัน WTI ล่าสุด ณ วันที่ 24 ก.พ. 2566 อยู่ที่ 76.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 20% จากวันเดียวกันของปีที่แล้ว

ล่าสุด รัฐบาลมอสโกประกาศลดการส่งออกน้ำมันให้ตะวันตก 25% พร้อมลดปริมาณการผลิตน้ำมัน 500,000 บาร์เรลต่อวัน ที่จะเริ่มต้นในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยสหภาพยุโรป กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ หรือ กลุ่มจี7 และบรรดาประเทศผู้ต่อต้านสงครามที่กดดันราคาน้ำมันดิบอูราล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบหลักของรัสเซีย ทำให้เกิดความกังวลด้านอุปทานและราคาน้ำมันโลกอาจมีทีท่าปรับตัวอีกครั้ง

สัญญาณซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ ปรับตัวขึ้น 1.61 ดอลลาร์ หรือ 2% เป็น 82.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าช่วงก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครนเมื่อ ก.พ.ปีที่แล้วที่มีราคาสูงถึง 98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนสัญญาณซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ (WTI) ปรับตัวขึ้น 1.44 ดอลลาร์ หรือ 2% เป็น 75.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (24 ก.พ.66)

นอกเหนือจากการเข้ามามีส่วนช่วยเหลือยูเครนของนาโต้และสหรัฐฯ โดยการกดดันทางเศรษฐกิจ เช่น ปิดการเข้าถึงระบบ SWIFT หรือระบบโอนเงินระหว่างประเทศ ยังกดดันรัสเซียด้านพลังงานเพื่อตัดช่องทางทำรายได้หลัก

รวมมาตรการคว่ำบาตรพลังงานรัสเซียหนึ่งปีที่ผ่านมา

  1. สหรัฐฯ สั่งห้ามนำเข้าน้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซจากรัสเซียทั้งหมด
  2. สหราชอาณาจักรเตรียมลดการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียภายในปี 65
  3. เยอรมนีระงับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาตินอร์ดสตรีม 2 (Nord Stream 2) จากรัสเซีย
  4. สหภาพยุโรป กลุ่มจี 7 และออสเตรเลีย ร่วมกันกำหนดเพดานราคาน้ำมันดิบของรัสเซียที่ขนส่งทางทะเล ครอบคลุมน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และเชื้อเพลิงเครื่องบินให้อยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (2,017.80 บาท) ตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปี 65 
  5. สหภาพยุโรประงับการนำเข้าน้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูปจากรัสเซียทางทะเล รวมถึงถ่านหิน ตั้งแต่ก.พ. ปี 66 เป็นต้นไป

รัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับสองของโลกในปริมาณ 10 ล้านตันต่อเดือนหรือ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นการคุมราคาน้ำมันรัสเซีย อาจส่งผลเสียยังความมั่นคงทางพลังงานของภูมิภาคยุโรปและราคาน้ำมันแพงทั่วโลกอีกครั้ง

ทั้งนี้ปีที่ผ่านมามาตรการดังกล่าวของชาติตะวันตกกลับส่งผลให้ราคาน้ำมันของรัสเซียสูงขึ้น มากไปกว่านั้นรัสเซียเปลี่ยนเส้นทางการส่งออกน้ำมันส่วนใหญ่จากยุโรปไปยังอินเดีย จีน และตุรกี และหันไปมอบส่วนลดสำหรับบางประเทศ พร้อมปฏิเสธที่จะขายน้ำมันให้กับประเทศที่คว่ำบาตรอีกด้วย 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ