'สมคิด' ถก 'อาเบะ' เสนอ 4 ข้อร่วมพัฒนาการค้า-ลงทุนไทย ญี่ปุ่น

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

'สมคิด' ถก 'อาเบะ' เสนอ 4 ข้อร่วมพัฒนาการค้า-ลงทุนไทย ญี่ปุ่น

Date Time: 7 มิ.ย. 2560 17:52 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • สมคิด เสนอ อาเบะ 4 ข้อ ดันความร่วมมือ พัฒนาการค้า ลงทุนร่วมกัน ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ 130 ปี หยิบประเด็นไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน ดึงความเชื่อมั่นนักลงทุน ระบุรัฐบาลจะดัน ไฮสปีด เทรน เข้าอีอีซีเต็มที่ แม้งบประมาณลงทุนจะสูง

Latest


สมคิด เสนอ อาเบะ 4 ข้อ ดันความร่วมมือ พัฒนาการค้า ลงทุนร่วมกัน ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ 130 ปี หยิบประเด็นไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน ดึงความเชื่อมั่นนักลงทุน ระบุรัฐบาลจะดัน ไฮสปีด เทรน เข้าอีอีซีเต็มที่ แม้งบประมาณลงทุนจะสูง

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเดินทางมาเยือนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 4–7 มิ.ย. 60 ว่า วันที่ 7 มิ.ย. ได้มีโอกาสเยี่ยมคารวะ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งได้เสนอขอความร่วมมือจากญี่ปุ่นให้ช่วยผลักดันการค้าและการลงทุนร่วมกัน 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1. การวางยุทธศาสตร์ของ CLMVT (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) ที่ทั้ง 5 ประเทศจะร่วมมือกันพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ไปด้วยกัน เพื่อให้มีระดับการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยขอให้ญี่ปุ่นช่วยพัฒนาแผนดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม ก่อนจะจัดประชุมของผู้นำทั้ง 5 ประเทศในช่วงปลายปีนี้

อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกัน ได้หารือร่วมกับ นายโยชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และขอให้ช่วยผลักดันยุทธศาสตร์ดังกล่าวด้วย เพราะที่ผ่านมาญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) อยู่แล้ว จึงถือเป็นโอกาสหากจะเข้ามาพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ไปพร้อมกัน อีกทั้งปัจจุบันแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของอาเซียนก็สอดคล้องกันอยู่ อนาคตข้างหน้าจึงจะเป็นโอกาสที่ทำให้กลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคนี้แข็งแกร่ง จะมีการคมนาคมผ่านรถไฟตั้งแต่ เวียดนาม ลาว ไทย เมียนมา เชื่อมต่อไปอินเดีย และบังกลาเทศ

ส่วนประเด็นที่ 2. การพัฒนารถไฟภายใต้กรอบความร่วมมือไทย–ญี่ปุ่น ซึ่งได้มีย้ำว่ากรุงเทพฯ–เชียงใหม่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ขณะเดียวกัน แผนพัฒนาเส้นทางเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก (อีสต์ เวสต์ คอริดอร์ส) ก็มีความสำคัญที่ต้องผลักดัน โดยฝ่ายไทยได้ขอความร่วมมือจาก นายสึกะ ให้เข้ามาช่วยเหลือเช่นเดียวกัน ส่วนประเด็นข้อเสนอจากทางญี่ปุ่น ที่ต้องการให้ไทยขยายเส้นทางรถไฟจากระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ไปสิ้นสุดที่สถานีอยุธยา เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม

ขณะนี้ ได้เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว "เส้นกรุงเทพฯ–อยุธยา ที่ญี่ปุ่นเสนอให้ขยายต่อจากโครงการรถไฟอีอีซีนั้น ตอนนี้ได้ให้คมนาคมเร่งคิด เพราะมีประโยชน์ อนาคตเห็นว่าอุตสาหกรรมจะเติบโตมาก แต่ที่ต้องเน้นย้ำเลยก็คือ เส้นอีอีซี ต้องทำ จะแพงอย่างไรก็ต้องทำ เพราะเป็นประโยชน์ แต่เราก็ต้องไปดูงบว่าจะใช้เท่าไร หรือจะดูการใช้งบจากกองทุนไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ ซึ่งในวันจันทร์นี้ (12 มิ.ย. 60) จะเข้าไปติดตามงานที่กระทรวงคมนาคม ว่าโครงการต่างๆ เดินหน้าไปถึงไหนแล้ว"

ประเด็นที่ 3 คือ ได้รายงานถึงความร่วมมือระหว่างไทย–ญี่ปุ่น ในการมาเยือนครั้งนี้ ได้ลงนามความร่วมมือกันเป็นครั้งแรก ระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรมของไทย และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (เมติ) โดยญี่ปุ่นจะเข้ามาสนับสนุนในการวาง Global value chain (ห่วงโซ่มูลค่า) เพื่อปฏิรูปการผลิตทั้งหมด เชื่อมโยงข้อมูลดีมานด์และซัพพลายให้สอดคล้องกัน เนื่องจากเมติ มีความเชี่ยวชาญในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อวางระบบอยู่แล้ว เชื่อว่าภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้อุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะเอสเอ็มอีมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่ยุค 4.0

4. เนื่องในโอกาสครบรอบสัมพันธ์ทางการทูต 130 ปี ได้ขอความร่วมมือไปยังเมติ ช่วยจัดงานเฉลิมฉลอง ด้วยการเดินทางมาเยือนไทย เพื่อเปิดเผยถึงข้อมูลของทิศทางการทำธุรกิจในอนาคต ที่จะต้องอาศัยเทคโนโลยี เนื่องจากโลกได้เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัว รวมไปถึงยังได้ขอให้ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (ไคดังเรน) นำทัพนักธุรกิจญี่ปุ่นเดินทางมาพบกับนักธุรกิจไทยในโอกาสนี้ด้วย

"การเข้าพบท่านอาเบะครั้งนี้ ท่านได้ขอให้เราช่วยดูแลนักธุรกิจญี่ปุ่น ที่เข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งเราก็ได้ให้คำมั่นว่า เราดูแลดีมาโดยตลอด และจะดูแลต่อไป เพราะญี่ปุ่นไม่เคยทอดทิ้งไทย ช่วยเหลือ และนักลงทุนญี่ปุ่นก็ดูแลเรามาตลอด ตอนนี้ก็มีประชาชนญี่ปุ่นในไทยถึง 70,000 คน และบริษัทญี่ปุ่นอีก 7,000-8,000 บริษัท"


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ