บริโภคกระเตื้อง ดันดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. พุ่ง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

บริโภคกระเตื้อง ดันดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. พุ่ง

Date Time: 26 เม.ย. 2560 12:56 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ยอดคำสั่งซื้อก่อนสงกรานต์-ราคาสินค้าเกษตรขยับ ดันดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. พุ่งที่ 87.5 ชี้ผู้ประกอบการยังกังวล อัตราแลกเปลี่ยน น้ำมัน การเมืองในประเทศ แนะภาครัฐดูแลค่าบาทให้เหมาะสม...

Latest


ยอดคำสั่งซื้อก่อนสงกรานต์-ราคาสินค้าเกษตรขยับ ดันดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. พุ่งที่ 87.5 ชี้ผู้ประกอบการยังกังวล อัตราแลกเปลี่ยน น้ำมัน การเมืองในประเทศ แนะภาครัฐดูแลค่าบาทให้เหมาะสม...

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค. 2560 ว่า อยู่ที่ 87.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 86.2 ในเดือน ก.พ.60 เนื่องจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยผู้ประกอบการเร่งผลิตสินค้าเพื่อรองรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งผลิตชดเชยในช่วงเดือน เม.ย.ที่มีวันทำงานน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรยังปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ส่งผลดีต่อรายได้และการบริโภคภายในประเทศ

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 100.9 ในเดือน ก.พ. เนื่องจากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ

ด้านปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการในเดือน มี.ค.60 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในภูมิภาค รวมถึงการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต เร่งศึกษาผลกระทบจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และแก้ไขปัญหาผังเมืองที่เป็นอุปสรรคต่องการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC).


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ