จาก “ดีทรอยต์” แห่งเอเชีย สู่ศูนย์กลาง EV แห่งอนาคต…
นี่คือฝันที่ประเทศไทยอยากไปให้ถึง ภายใต้ความเชื่อมั่นว่าบ้านเรามีจุดแข็งเหนือชาติอื่นๆ เช่น เรื่องภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบจากที่ตั้งเชื่อมต่อระหว่างประเทศในอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่ประชากรหนาแน่น และกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ลดการพึ่งพาน้ำมันมากขึ้นอย่างชัดเจน
จุดยุทธศาสตร์ของไทย ยังใกล้ตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย ซึ่งมีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานครบครัน ทั้งท่าเรือ, สนามบิน และโลจิสติกส์รองรับ อีกทั้งประสบการณ์จากการเป็นฮับอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาปที่มีมายาวนาน อาจช่วยให้ปรับตัวเรียนรู้ และเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ได้ไม่ยาก
หากแต่ตัวแปรสำคัญในการที่จะช่วยให้ไทยพร้อมขึ้นเป็นฮับ EV ระดับเอเชีย และมองไกลไปถึงระดับโลกนั้น เหตุผลที่นักลงทุนต่างชาติเลือกเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทย ยังมาจากนโยบายการสนับสนุนที่ออกมาอย่างชัดเจนของรัฐบาล ภายใต้ต้องการดึงดูดนักลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกี่ยวข้อง เข้ามาในประเทศไทย เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ ตลาดงาน เช่น
ซึ่งนโยบายทั้งหมด ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมทั้งการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ด้วยมาตรการทางภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี ในช่วงที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค EV จากกระแสปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่าอุตสาหกรรม EV จะเปลี่ยนอนาคตเศรษฐกิจไทยได้! และประเทศไทยตั้งเป้าเป็นฐานการผลิตรถไฟฟ้า 100% ภายในปี 2578
ทั้งนี้ ทิศทางตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้า (Hybrid & BEV) ในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มรถ Hybrid ที่กระแสนิยมเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ก็เป็นอีกปัจจัย ที่ทำให้บรรดาค่ายรถEVต่างๆ ย้ายการลงทุนเข้ามาตั้งฐานการผลิต
ขณะข้อมูลของ SCB EIC (ธนาคารไทยพาณิชย์) ระบุว่า จำนวนรถยนต์ไฟฟ้า (Hybrid และ BEV) บนท้องถนนของไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
โดยกระแสนิยมเครื่องยนต์ Hybrid มีแนวโน้มเติบโตขึ้น ทั้งในกลุ่มรถยนต์นั่งระดับกลาง (ราคา 5 แสน – 1 ล้านบาท) รวมถึงกลุ่มรถหรูก็เริ่มเห็นยอดขายรถ Hybrid และ BEV มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจนสูงกว่ารถสันดาปแล้วในหลายแบรนด์ บนคาดการณ์ภายในปี 2568 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจะครองส่วนแบ่งตลาดราว 30% ของตลาดรถยนต์ในไทยทั้งหมด
หลังจากช่วงปี 2566 เริ่มมีแบรนด์รถยนต์นั่งไฟฟ้า BEV สัญชาติจีน 4 รายที่ขยับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มแบรนด์รถยนต์ 10 อันดับแรกของไทย ที่มีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นั่งมากที่สุด ได้แก่ BYD, MG, NETA และ GWM
เจาะความคืบหน้า ของห่วงโซ่อุปทาน EV ภายในประเทศไทย พบกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำทั่วโลก ที่ประกาศแผนลงทุน หลายค่ายได้เริ่มทยอยเดินสายการผลิตแล้ว นำโดยค่ายรถจากจีน ได้แก่ MG, BYD, GWM, NETA V และ Foxconn
ซึ่งจนถึงขณะนี้ รวมเม็ดเงินลงทุนของกลุ่มทุนต่างชาติต่างๆ ที่ประกาศการลงทุนเฟสแรก เริ่มเดินสายการผลิตแล้วในปีนี้ และต่อเนื่องปี 2568 รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 92,162 ล้านบาทคิดเป็นกำลังการผลิตปี 2567 ที่ 459,000 คัน ส่วนในปี 2568 จะมีการผลิตเพิ่มเติมจาก ChangAn และ Cherry ของจีนอีก 150,000 คัน
โรงงานรถ EV ที่เริ่มเดินสายการผลิตแล้วในปี 2567
คาดว่าจะเริ่มการผลิตนับตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ปี 2568 (รวมทุกประเภท) ทั้งสิ้น 1,051,000 คัน ขณะที่ในปี 2578 มีเป้าหมายการผลิตอยู่ที่ 18,413,000 คัน ตามไทม์ไลน์ที่ตั้งธงจะเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 100% และราคารถ EV ต้องเทียบเท่ารถสันดาป
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney