แม้ “ธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์” ในประเทศไทย จะมีบทบาทสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ และสังคม กระตุ้นเม็ดเงินเฉพาะกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ครู ,รัฐวิสาหกิจ ,ราชการ ,อุดมศึกษา ,ตำรวจ ,ทหาร และ โรงพยาบาล ฯล ที่ช่วยปลูกฝัง ส่งเสริมวินัยการเก็บออมเงิน อย่างปลอดภัย และสร้างผลตอบแทนให้กับสมาชิก
แต่เนื่องด้วย อีกบทบาทหนึ่ง ยังทำหน้าที่ ของการเป็น แหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วๆไป ยื่นกู้ง่าย ทำให้กลายเป็นแหล่งหนี้เสีย (NPLs) กระจุกตัวเช่นกัน จนบางสหกรณ์ เกิดปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงิน
อีกทั้ง สหกรณ์บางแห่งขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ บริหารงานที่โปร่งใส ทำให้หลายๆกรณี นำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่น อย่างที่เป็นข่าวตามหน้าสื่อหลายๆครั้ง
เจาะข้อมูลปัจจุบันของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จากการรายงานของวิจัยธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ พบว่า ในปี 2566 ทั่วประเทศ ไทยมี สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ยังดำเนินธุรกิจ อยู่ที่ 1,354 แห่ง มีจำนวนสมาชิกรวม 3.44 ล้านคน และ มีสินทรัพย์รวม 3.30 ล้านล้านบาท
โดยประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด ได้แก่
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาด้านขนาดสินทรัพย์พบว่า ประเภท สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่หรือมีสินทรัพย์/สหกรณ์มากกว่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ครู สหกรณ์ ออมทรัพย์รัฐวิสาหกิจ และสหกรณ์สถาบันอุดมศึกษาเป็นหลัก
ส่วนฐานะการเงิน ณ สิ้นปี 2566 ในภาพรวมสหกรณ์ออมทรัพย์มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 3.30 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.2% มีผลดำเนินงาน ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2565 สะท้อนจากการขยายตัวของกำไร สุทธิที่เพิ่มขึ้นเป็น 5.4% หรือคิดเป็นมูลค่า 100,482 ล้านบาท ในช่วงปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี อย่างที่ระบุข้างต้น การที่ธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ยังคงเป็นแหล่ง เงินกู้ยืมที่สำคัญของภาคครัวเรือน ทำให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2567 พบมีหนี้ ที่มาจากสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสัดส่วนราว 14.4% ของหนี้ภาคครัวเรือน ทั้งหมดของประเทศไทย
ขณะคุณภาพสินเชื่อของของสหกรณ์ออมทรัพย์ ใน ภาพรวม แม้ทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2565 แต่มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ทั้งสิ้น 10,933 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.0% โดยสหกรณ์ออมทรัพย์ครูมีหนี้เสีย มากที่สุด 7,239 ล้านบาท หรือ สัดส่วน 62.2%
ทั้งนี้ วิจัยแลนด์แอนด์เฮ้าส์ วิเคราะห์ว่า แนวโน้มธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ของไทยในระยะข้าง ยังอยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังคง อ่อนแอ ปัญหาหนี้ครัวเรือน และภาระหนี้สะสมสูงของสมาชิก นอกจากนี้ สหกรณ์ยังเผชิญความเสี่ยงจากการพยายามแสวงหาผลตอบแทน สูงขึ้น (Search for Yield) ในภาวะที่การปล่อยสินเชื่อใหม่อยู่ในระดับต่ำนั่นเอง
ที่มา : วิจัย LH
อ่านข่าวหุ้น ข่าวทองคำ และ ข่าวการลงทุน และ การเงิน กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney