ชงเว้นดอกเบี้ยรายย่อย 3 ปี!มูลหนี้1ล้านล้าน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ชงเว้นดอกเบี้ยรายย่อย 3 ปี!มูลหนี้1ล้านล้าน

Date Time: 2 พ.ย. 2567 08:30 น.

Summary

  • คลัง เสนอเว้นดอกเบี้ยรายย่อย 3 ปี แก้ปัญหาหนี้เสียเอสเอ็มอีรายย่อยที่อยู่ในธนาคารพาณิชย์ มูลค่า 1 ล้านล้านบาท  พร้อมหารือ “ธปท.” ผ่อนเกณฑ์การเข้าถึงสินเชื่อ ขณะที่ ธ.ก.ส. เดินหน้าช่วยลูกหนี้รายย่อยร่วมมาตรการพักหนี้แล้ว 1.41 ล้านราย มูลหนี้ 209,392 ล้านบาท

Latest

HSBC ชี้เศรษฐกิจไทยโตกว่าที่คิด หลังรัฐเร่งลงทุน กระตุ้นบริโภค ต่างชาติเชื่อมั่น จ่อลงทุนไทยเพิ่ม

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่า การแก้ไขหนี้เสียรายย่อยที่อยู่ในธนาคารพาณิชย์ มูลค่าราว 1 ล้านล้านบาทนั้น เบื้องต้นหากต้องการให้การแก้ปัญหาหนี้บรรลุวัตถุประสงค์ได้  ต้องปรับโครงสร้างธุรกิจให้ชำระหนี้ได้ และเมื่อสามารถชำระได้แล้ว ก็ให้มีลู่ทางที่เข้าถึงสินเชื่อเพิ่มเติมได้ “กลุ่มลูกหนี้ที่จะเลือกเข้าโครงการ คือ ลูกหนี้ที่เพิ่งเริ่มมีปัญหา คือ เพิ่งค้างการชำระหนี้เกิน 30 -90 วัน และอาจพิจารณาถึงลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน ถึง 1 ปี เพราะยังสามารถแก้ไขหนี้ได้ กลุ่มนี้มีมูลหนี้รวม 1ล้านล้านบาท แต่หนี้ที่ค้างเกิน 1 ปี เอาไว้ก่อน”

สำหรับแนวทางการแก้ไขหนี้กลุ่มนี้ คือ 1.ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย เป็นเวลา 3 ปี  โดยภาระดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ไม่ต้องจ่าย ทั้งภาครัฐและธนาคารต้องช่วยกัน  2.ลูกหนี้ที่เข้าโครงการจะให้ผ่อนเฉพาะเงินต้น โดยให้มีเวลาที่ยาวขึ้น เบื้องต้นขอให้จ่ายเงินต้นแค่ครึ่งหนึ่งของที่เคยจ่าย “การแก้ปัญหาต้องพิจารณาเป็นรายกรณีด้วย เพราะลูกหนี้แต่ละราย มีสถานะหนี้ไม่เหมือนกัน  ต้องรอให้ธนาคารพาณิชย์ ไปหารือกันให้ได้ข้อยุติก่อน ขณะที่ตนจะหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้พิจารณาผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น”

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)กล่าวว่า การดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 1 ตั้งแต่ 1 ต.ค. 66-30 ก.ย.67 ลูกหนี้ที่มีหนี้รวมไม่เกิน 300,000 บาท มีผู้เข้าร่วม1.86 ล้านราย  เข้ามาตรการสำเร็จ 1.41 ล้านราย เป็นหนี้ 209,392 ล้านบาท และ ธ.ก.ส.ได้จัดอบรมและส่งเสริมฟื้นฟูการประกอบอาชีพ  พร้อมเตรียมตลาดรองรับการจำหน่ายผลผลิต  ณ 24 ต.ค. 67 มี 315,254 ราย  รวมถึงยังให้เงินทุนโครงการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูอาชีพ ไม่เกิน 100,000 บาท อีก 15,137 หลังเสร็จสิ้นมาตรการพบว่า ผู้เข้าร่วมสามารถสร้างผลผลิต รายได้เพิ่มหรือลดต้นทุนการผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 15% จำนวน 60,629 ราย

  


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ