ค่าครองชีพสูง คนอเมริกัน บริโภค“ปลากระป๋อง” แทนหมู-ไก่ ไทย แชมป์ส่งออก อันดับ 2 ของโลก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ค่าครองชีพสูง คนอเมริกัน บริโภค“ปลากระป๋อง” แทนหมู-ไก่ ไทย แชมป์ส่งออก อันดับ 2 ของโลก

Date Time: 4 ต.ค. 2567 16:13 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • ค่าครองชีพสูง ส่งผลคนอเมริกัน หันมาบริโภค “ปลากระป๋อง” แทนเนื้อหมู-ไก่ ประเทศไทย ขึ้นแท่นแชมป์ส่งออก อันดับ 2 ของโลก 8 เดือนแรก ทำเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ สบช่องญี่ปุ่นลดการผลิต ต่ำสุดในรอบ 71ปี จากปัญหา ขาดแคลนอุปกรณ์จับปลา

Latest


สินค้าปลากระป๋องและแปรรูปนับเป็นสินค้าที่มีศักยภาพอันดับต้นของประเทศไทย โดยไทยอยู่ในตำแหน่งผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีนเท่านั้น และเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน ด้วยมูลค่าสูงถึง 1,145.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 39,000 ล้านบาท

โดยผลิตภัณฑ์ “ปลาทูน่ากระป๋อง” เป็นพระเอกสร้างชื่อของการส่งออกไทยมาเนิ่นนาน อย่างไรก็ตาม ทูน่าส่งออกของไทยส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า เนื่องจากอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาดโลก

อีกทั้งปลาทูน่าส่วนใหญ่ที่จับได้ในไทยมักเป็นปลาทูน่าผิวน้ำ อย่างปลาโอดำ ปลาโอลายซึ่งไม่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศมากนัก ทำให้ไทยต้องนำเข้าจากไต้หวัน มัลดีฟส์ เกาหลีใต้ นาอูรู และไมโครนีเซีย ผลิตและส่งออกเป็นหลัก

  • ปลาทูน่ากระป๋อง 83.3%
  • ปลาซาร์ดีนกระป๋อง 16.7%

เจาะสถานการณ์การผลิตปลากระป๋องของไทยในรอบ 8 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 472,485.3 ตัน เติบโตราว 9.3% หากแต่การจำหน่ายภายในประเทศไทยเป็นเพียง 15% เท่านั้น ที่เหลือ 85% เป็นการผลิตเพื่อส่งออก

อ้างอิงข้อมูลจากวิจัยธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) พบว่า 8 เดือนที่ผ่านมา ไทยมีปริมาณการจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องรวมทั้งสิ้นมากถึง 3.82 แสนตัน เติบโตขึ้น 15.3% โดยเป็นการส่งออกราว 3.6 แสนตัน ขยายตัว 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ประเด็นที่น่าสนใจคือตลาดหลักอย่างสหรัฐมีการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยเพิ่มขึ้นถึง 12% ทำให้เป็นแรงส่งสำคัญ แม้ยอดจำหน่ายปลาซาร์ดีนกระป๋องจะลดลงจากแรงกดดันของตลาดแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญที่นำเข้าลดลง และการบริโภคในไทยก็ลดลงเช่นกัน

4 อันดับตลาดส่งออกสำคัญของไทย (% สัดส่วน)

  • สหรัฐฯ 19.5%
  • ออสเตรเลีย 8.6%
  • ลิเบีย 7.5%
  • ซาอุดิอาระเบีย 6.3%

ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยเปิดเผยว่า ปัญหาค่าครองชีพที่สูงในสหรัฐที่ผ่านมา ทำให้คนอเมริกันหันมาซื้อปลากระป๋องแทนเนื้อหมู เนื้อไก่แทน เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย อีกทั้งปลากระป๋องยังพกพาง่าย ตอบโจทย์วิถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนตลาดส่งออก ได้แก่ การขยายตัวของตลาดอาหารฮาลาลในประเทศแถบตะวันออกกลาง อย่างลิเบียและซาอุดิอาระเบีย

ขณะปัจจัยเร่งการส่งออกของไทยยังมาจากสถานการณ์ที่ญี่ปุ่นลดปริมาณการผลิตปลากระป๋อง เช่น ทูน่าและซาบะลง จนอยู่ในจุดต่ำสุดในรอบ 71 ปี เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากการจับปลา และราคาที่พุ่งสูงขึ้นอีกด้วย

นี่เองจึงเป็นโอกาสให้ไทยส่งออกปลากระป๋องไปยังตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีจุดแข็งในแง่คุณภาพและมาตรฐานการผลิตปลากระป๋องของไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งด้านกระบวนการผลิต ด้านคุณภาพ และสุขอนามัย จนทำให้ไทยมีข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ FTA กับประเทศคู่ค้ามากถึง 18 ประเทศ

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ