ไทยเบฟขับเคลื่อนโตยั่งยืน เสริมแกร่งผู้นำเครื่องดื่ม-อาหารแห่งอาเซียน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ไทยเบฟขับเคลื่อนโตยั่งยืน เสริมแกร่งผู้นำเครื่องดื่ม-อาหารแห่งอาเซียน

Date Time: 2 ต.ค. 2567 08:33 น.

Summary

  • “ไทยเบฟ” เดินหน้าขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนสู่ PASSION 2030 ต่อยอดการดำเนินงานของกลุ่มในการเสริมความแข็งแกร่งสถานะผู้นำที่มั่นคงและยั่งยืนของอาเซียนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหาร

Latest

รู้จัก “หวย N3” คู่แข่งหวยใต้ดิน ความหวังใหม่รัฐบาล  ต้อนเงินเข้าระบบ 1 แสนล้านบาท เริ่มขาย 17 ต.ค

“ไทยเบฟ” เดินหน้าขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนสู่ PASSION 2030 ต่อยอดการดำเนินงานของกลุ่มในการเสริมความแข็งแกร่งสถานะผู้นำที่มั่นคงและยั่งยืนของอาเซียนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหาร

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ “ไทยเบฟ” บริษัทเครื่องดื่มชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้แถลงถึงแผนงานประจำปีว่าในปีที่ผ่านมาไทยเบฟมีความคืบหน้าที่ดีในการสรรค์สร้างความสามารถ เสริมแกร่งตำแหน่งในตลาดและตราสินค้าของเรา รวมทั้งนำศักยภาพของไทยเบฟที่มีอยู่มาก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุดในทุกธุรกิจของไทยเบฟ แม้ที่ผ่านมาจะมีความท้าทายด้านการดำเนินงานและต้นทุน อันเป็นผลมาจากความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาคและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แต่ก็สามารถก้าวข้ามอุปสรรคมาได้ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่ง และการบริหารอัตรากำไรและความเสี่ยงอย่างมีวินัย โดยความทุ่มเทร่วมมือร่วมใจกันของกลุ่มไทยเบฟทำให้มีผลการดำเนินงานดีในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 เช่นเดียวกับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และในวันนี้ไทยเบฟกำลังมองไปข้างหน้า โดยนำจุดแข็งทางการแข่งขันและขีดความสามารถหลักของเรามาเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างมูลค่าให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

“ด้วยความมุ่งมั่นที่จะ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” ตามพันธกิจขององค์กร ไทยเบฟต่อยอดความสำเร็จจากแผน PASSION 2025 ด้วยการเดินหน้าขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนสู่ PASSION 2030 ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อมุ่งสู่การสู่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยกลุ่มยังคงมีความมุ่งมั่นพัฒนาการส่งมอบสินค้าและบริการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในช่องทางต่างๆได้อย่างทั่วถึง และขยายขอบเขตให้ครอบคลุมทุกช่องทาง รวมทั้งเจาะตลาดได้อย่างครบวงจร โดยก้าวต่อไปในปี 2568 ได้จัดงบลงทุนเพิ่มเป็น 18,000 ล้านบาท สูงขึ้นจากปกติที่ลงทุนปีละราว 7,000-8,000 ล้านบาท เนื่องจากจะมีการลงทุนในโครงการ Agri Valley Farm ในมาเลเซีย ซึ่งเป็นฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ รวมถึงการขยายโรงงานผลิตเบียร์ในกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้กลุ่มไทยเบฟมีศักยภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นรองรับความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น”

ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 ไทยเบฟมีรายได้จากการขายรวม 217,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) 38,595 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 โดยได้รับแรงหนุนจากธุรกิจเบียร์และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อันเป็นผลจากการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับความก้าวหน้าแต่ละกลุ่มธุรกิจของไทยเบฟ เริ่มจาก 1.ธุรกิจสุรา ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 ธุรกิจสุรามีรายได้จากการขาย 92,788 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 จากปีที่แล้ว และมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) ลดลงร้อยละ 1.3 สาเหตุหลักมาจากปริมาณขายรวมที่ลดลงร้อยละ 2.7 เนื่องจากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ดี การชะลอตัวในประเทศไทยถูกชดเชยได้บางส่วนจากธุรกิจในประเทศเมียนมาที่ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นจากปีก่อน

2.ธุรกิจเบียร์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) ของธุรกิจเบียร์เติบโตอย่างน่าพอใจที่ร้อยละ 10.2 ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็น 93,793 ล้านบาท อันเป็นผลจากการลงทุนในตรา สินค้าและกิจกรรมทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่ลดลง และการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ปริมาณขายรวมจะลดลงร้อยละ 2.9 ก็ตาม

3.ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของกลุ่มมีรายได้จากการขาย 15,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว กันของปีที่แล้ว ตามปริมาณขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 โดยมีปัจจัยหลักมาจากกิจกรรมส่งเสริมตราสินค้าที่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับการขยายการกระจายสินค้าให้กว้างขวาง โดยมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) 1,817 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5

4.ธุรกิจอาหาร มีรายได้จากการขาย 15,022 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เทียบจากปีก่อน อันเป็นผลจากการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี ( EBITDA) ลดลงร้อยละ 0.6 เป็น 1,438 ล้านบาท เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ