เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานเผยแพร่ความมั่งคั่งทั่วโลก ประจำปี 2567 โดยธนาคารยูบีเอส ระบุว่า จำนวนมหาเศรษฐีทั่วโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชีย เศรษฐกิจเกิดใหม่
พร้อมคาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีคนที่ถูกเรียกว่า มีความมั่งคั่งสูง (มีทรัพย์สินรวมกันเกิน 1,800 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นอีกราว 24% จากประมาณ 100,000 คน เป็นกว่า 123,500 คน ติดอันดับ 9 ที่จะมีมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลธนาคารโลกคาดการณ์คู่ขนานว่า แนวโน้มความร่ำรวยดังกล่าวก็มาพร้อมกับความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างระหว่าง “คนรวย” กับ “คนจน” ที่จะห่างมากขึ้นเรื่อยๆ
ขณะประเทศไทยนั้น เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคสะท้อนความจริงที่ว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” ซึ่งหมายถึง คนที่มีรายได้สูงมีไม่กี่คน แต่คนที่มีรายได้น้อยมีมาก และรายได้ของผู้มีรายได้สูงและผู้มีรายได้น้อยก็ยังมีความแตกต่างกันมากอีกด้วย
ทฤษฎีในทางเศรษฐศาสตร์ที่พอจะตอบคำถามได้บ้างนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อธิบายว่า ภาวะดังกล่าวเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ (income inequality) จริงอยู่ว่า แต่ละคนมีความรู้ความสามารถและโอกาสในการหารายได้ไม่เท่ากัน
บางคนอาจจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตจำนวนมาก ขณะที่บางคนอาจมีน้อย นั่นจึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า: การที่เศรษฐกิจโตหรือรายได้ประชาชาติสูงขึ้นก็ไม่ได้หมายว่า รายได้เฉลี่ยของทุกคนจะสูงขึ้น หรือเศรษฐกิจที่ดีจะทำให้ทุกคนมีความกินดีอยู่ดีมากขึ้น
เพราะรายได้ของประเทศที่เพิ่มขึ้น อาจไปตกอยู่กับประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเลวร้ายสุดก็เพียงบางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้
กลายเป็นภารกิจของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยที่มีเป้าหมายร่วมกัน คือ การเพิ่มระดับรายได้หรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต้องควบคู่ไปกับเป้าหมายในการกระจายรายได้ด้วย กล่าวง่ายๆ คือ ต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือมีรายได้เพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้สูงหรือผู้มีรายได้น้อย
ทั้งนี้ ธปท. ยังอธิบายต่ออีกว่า การดำเนินนโยบายการคลังก็มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาการกระจายรายได้ โดยผ่าน 3 วิธี คือ
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ดูเหมือนเป้าหมายของเศรษฐกิจมหภาคที่กล่าวไปข้างต้นอาจมีความขัดแย้งกัน เช่น หากต้องให้เศรษฐกิจโตโดยการกระตุ้นการบริโภค ก็อาจนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อตามมา
โดย แท้จริงแล้ว เราสามารถผสมผสานเป้าหมายกันให้ดี เช่น ให้เศรษฐกิจโต ขณะที่ยอมให้เงินเฟ้อบ้างเล็กน้อย ก็อาจเป็นผลดี จูงใจให้มีการลงทุนขยายการผลิต เกิดการจ้างงาน ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ก็ทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดีได้เช่นกัน
แต่ถ้าเรามุ่งที่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งมากจนเกินไป ก็จะทำให้เศรษฐกิจเสียสมดุล เช่น หากต้องการให้เศรษฐกิจโตมากๆ อย่างรวดเร็ว อาจเป็นผลดีในระยะสั้น แต่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นกลับเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในระยะยาวได้
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney