"เงินเฟ้อ" ไทยติด "รองบ๊วย" อาเซียน ราคาลด-กำลังซื้อคนฝืด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

"เงินเฟ้อ" ไทยติด "รองบ๊วย" อาเซียน ราคาลด-กำลังซื้อคนฝืด

Date Time: 4 ก.ย. 2567 08:34 น.

Summary

  • สนค.ได้ติดตามข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของประเทศกลุ่มอาเซียน โดยพบว่าเงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปี 67 (ม.ค.-มิ.ย.) ของไทยเทียบกับ 9 ชาติในอาเซียน ไทยมีเงินเฟ้อต่ำเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค.ได้ติดตามข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของประเทศกลุ่มอาเซียน โดยพบว่าเงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปี 67 (ม.ค.-มิ.ย.) ของไทยเทียบกับ 9 ชาติในอาเซียน ไทยมีเงินเฟ้อต่ำเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาครองจากบรูไนที่ติดลบ 0.26% ซึ่งไทยมีอัตราเงินเฟ้อเท่ากับศูนย์ หรือไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมา 3.กัมพูชา เงินเฟ้อเพิ่ม 0.26% 4.มาเลเซียเพิ่ม 1.81% อินโดนีเซียเพิ่ม 2.79% สิงคโปร์เพิ่ม 2.87% ฟิลิปปินส์เพิ่ม 3.55% เวียดนามเพิ่ม 4.08% และลาวเพิ่ม 25.29%

“สาเหตุที่บรูไนมีเงินเฟ้อต่ำสุดมาจากการลดลงของราคาสินค้าบริการด้านที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค อาทิ ไฟฟ้า น้ำ ก๊าซ และการขนส่ง เนื่องจากบรูไนเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน อีกทั้งมีนโยบายควบคุมราคาสินค้า ขณะที่ชาติที่เงินเฟ้อสูงสุดอย่างลาว มาจากการพึ่งพานำเข้าสินค้า หนี้สาธารณะสูง และค่าเงินกีบอ่อน ส่งผลให้สินค้าในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตาม”

สำหรับสาเหตุที่เงินเฟ้อไทย 6 เดือนแรกของปี 67 เท่ากับศูนย์ หรือไม่เปลี่ยนแปลงนั้น มีสาเหตุจากกำลังซื้อในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ราคาอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสุกรอยู่ในระดับต่ำ ค่าไฟฟ้าและน้ำมันดีเซลต่ำกว่าปีก่อน จากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี 67 ที่ 0-1% อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลต่อเงินเฟ้อในอนาคต ทั้งเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า ภัยธรรมชาติ ขณะที่ไทยเองมีปัจจัยอื่นที่หนุนภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจ ทั้งการท่องเที่ยวและการลงทุนของภาครัฐและเอกชน มาตรการของภาครัฐ รวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์จะทำงานในเชิงรุกเพื่อดูแลราคาสินค้าให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเศรษฐกิจ.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ