น้ำท่วมรุนแรง ภัยแล้งซ้ำซาก วิกฤติฝุ่น PM 2.5 แก้ไม่ได้! พ่นพิษเศรษฐกิจ แสนล้านต่อปี คนจนกระทบสุด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

น้ำท่วมรุนแรง ภัยแล้งซ้ำซาก วิกฤติฝุ่น PM 2.5 แก้ไม่ได้! พ่นพิษเศรษฐกิจ แสนล้านต่อปี คนจนกระทบสุด

Date Time: 26 ส.ค. 2567 10:56 น.

Video

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ Green Finance ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า ระเบียบโลกใหม่ | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • จับตา ผลกระทบ "น้ำท่วม 2567" หลังน้ำเหนือเริ่มหลากลง จ.สุโขทัย ขณะผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ย้ำ ปริมาณน้ำรอบนี้ อาจไม่มากเท่าวิกฤติปี 54 แต่ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำและความรุนแรง จากการบีบอัดลำน้ำ เจาะมิติเศรษฐกิจ ไทยเสี่ยงเผชิญภัยพิบัติมากขึ้น ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และฝุ่น PM 2.5 ป้องกันไม่ดี แก้ไม่ได้ เสียหายหลักแสนล้านต่อปี คนจนกระทบสุด

สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด ยังคงน่าเป็นห่วง ครอบคลุมพื้นที่ จ.น่าน  จ.เชียงราย และ จ.เพชรบูรณ์ ขณะปริมาณน้ำเหนือเริ่มไหลลง จ.สุโขทัย แล้ว (น้ำยมล้นแนวกั้น)

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา เผยแนวโน้มปัญหาน้ำท่วมจากแบบจำลองสถานการณ์ความละเอียดสูงว่า ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมยาวไปถึงเดือนพฤศจิกายน ประเทศไทยยังมีโอกาสเจอกับฝนตกหนัก และอิทธิพลจากพายุช่วงปลายฤดู ซึ่งคาดว่าจะยังคงเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก 14-15 ลูก แต่มีโอกาสพัดผ่านประเทศไทย 1-2 ลูก 

ดังนั้น ทั้งภาครัฐและประชาชน จึงต้องติดตามเส้นทางพายุดังกล่าว เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น พร้อมย้ำความกังวลที่ว่า การเกิดน้ำท่วมใหญ่ ปริมาณน้ำไม่จำเป็นต้องเท่ากับปริมาณปี 2554 แต่ระดับน้ำและความรุนแรงอาจจะมากกว่าได้ เนื่องจากการบีบอัดลำน้ำ การป้องกันตนเองของพื้นที่ตอนบน ดังนั้นให้เฝ้าระวังพื้นที่แนวต่อเนื่อง เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าต่อชีวิต ทรัพย์สินประชาชน และน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ

ย้อนไปช่วงน้ำท่วมปี 2554 ได้สร้างความเสียหายต่อนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก และส่งผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทย ก่อนเกิดการผลักดันให้มีการย้ายฐานการผลิตออกจากพื้นที่เสี่ยงต่างๆ 

อย่างไรก็ดี การปิดโรงงานเพียงหนึ่งโรงงานในพื้นที่น้ำท่วม บางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตทั้งหมดของเครือข่ายอุตสาหกรรมของภูมิภาคและของโลกได้ 

ดังนั้น การป้องกันไม่ให้น้ำไหลหลากจากภาคเหนือเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ใจกลางของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยอย่างมาก 

น้ำท่วม ปิด-ย้ายโรงงาน สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจวงกว้าง 

ในมุมมองของนักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมืองอย่าง รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ  คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า หากครั้งนี้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับปี 2554 อีก จะสะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบป้องกันภัยพิบัติอุทกภัยอย่างชัดเจน

เพราะหากนับเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนการผลิตนั้น มีห่วงโซ่อุปทานเชื่อมโยงภาคการผลิตไม่ต่ำกว่า 16 ประเทศ ความเสียหายทางเศรษฐกิจภาคการผลิต และการลงทุนของผลกระทบน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาคและของโลก จึงไม่จำกัดเพียงเศรษฐกิจไทยเท่านั้น  

แต่ปัญหาที่ชวนขบคิดมากกว่าแค่ระยะสั้น คือ คาดการณ์ที่ว่านับจากนี้ ไทยจะเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ชาวไทยยังหลีกเลี่ยงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้าขั้นวิกฤติหลายมิติ หลายลักษณะด้วยกัน 

ทั้งปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรงจากปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งล้วนมีความเกี่ยวพันกับภาวะโลกร้อน พบว่าปรากฏการณ์ลานีญา อาจยาวนาน 9-12 เดือน และทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง ปริมาณน้ำฝนอาจสูงถึง 14,000 ล้าน ลบ.ม. 

น้ำท่วมซ้ำซาก ภัยแล้ง ปัญหาหมอกควัน พ่นพิษเศรษฐกิจแสนล้าน


ขณะปัญหาเรื้อรัง หมอกควัน และ PM 2.5 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชนในหลายพื้นที่ และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่อาศัยรายได้หลักจากการท่องเที่ยว สถานการณ์ได้เลวร้ายจนหลายจังหวัดในภาคเหนือมีมลพิษทางอากาศและหมอกควันสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ยังระบุว่า หากรัฐบาลปล่อยให้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งเกิดซ้ำซากทุกปี มลพิษทางอากาศเกิดขึ้นทุกปี เมื่อประเทศไทยจะอยู่ในสภาพน้ำท่วม บวกภัยแล้ง บวกอากาศร้อนรุนแรง บวกมลพิษทางอากาศ หมอกควัน รวมกันยาวนานเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไปต่อปี

จะทำให้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตรุนแรงมากขึ้น จากการประเมินเบื้องต้น พบว่าในส่วนของผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้นอาจสร้างความเสียหายได้มากกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปีได้ 

อีกทั้งความเสียหายเหล่านี้ยังไม่ได้คำนวณผลกระทบต่อสุขภาพ ผลกระทบต่อการย้ายถิ่น ที่จะทำให้รายจ่ายด้านสาธารณสุขและต้นทุนทางสังคมเพิ่มขึ้นในระยะยาว 

"การสูญเสียทางเศรษฐกิจเกิดจากการลดลงของรายได้ ความเสียหายทางทรัพย์สิน ความเสียหายทางด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต จากการชะลอตัวลงของการท่องเที่ยวและการเดินทาง ภัยพิบัติเกี่ยวเนื่องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน"

เรื่องที่น่าเศร้าที่สุดก็คือ ครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผู้มีรายได้น้อยและคนจนในพื้นที่ภัยพิบัติ มักจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และผู้ใช้แรงงานในเขตพื้นที่ภัยพิบัติ เป็นต้น 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์