ทางออกกันต่างชาติซื้อ-เช่า 99 ปี

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ทางออกกันต่างชาติซื้อ-เช่า 99 ปี

Date Time: 8 ส.ค. 2567 05:06 น.

Summary

  • “ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย” เสนอมาตรการหารายได้เข้ารัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องให้ต่างชาติซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศนานถึง 99 ปี

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

ในขณะที่ “นายเศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ และดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัย มาลงทุนในไทยมากขึ้น เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

โดยหนึ่งในแนวคิดดังกล่าว คือ การจะเปิดให้คนต่างชาติซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้นานถึง 99 ปี ซึ่งสร้างกระแสต่อต้านจากทุกภาคส่วนของสังคมนั้น

“ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย” เสนอมาตรการหารายได้เข้ารัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องให้ต่างชาติซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศนานถึง 99 ปี ดังนี้

1. เสนอเก็บภาษีผู้มีทรัพย์สินราคาสูง จากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาเกินกว่า 20 ล้านบาท ตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ราชการประเมินราคาใหม่ และราคาเมื่อแรกครอบครองตามราคาตลาด และให้เสียภาษี-ค่าธรรมเนียมโอนตามราคาตลาด รวมถึงเก็บภาษีกำไรจากส่วนต่างของราคาทั้งสองที่ 20% ของกำไร

ส่วนผู้ที่ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสูงเกินกว่า 20 ล้านบาท ให้ราชการประเมินราคาใหม่ตามราคาตลาด และให้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตราที่กำหนด

รวมถึงให้ “ยกเลิกลดหย่อนภาษี” โดยทำการเกษตรในเขตเมือง ซึ่งเป็นการ “เลี่ยงภาษี” โดยให้ถือว่า ที่ดินเหล่านี้เป็นที่ดินเปล่า ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และเก็บภาษีในฐานที่ดินเปล่า

2. เปิดสัมปทานกาสิโนลอยน้ำบนเรือสำราญที่เข้ามาเปิดให้บริการเล่นการพนันในน่านน้ำไทย แทนการสร้างกาสิโนใหม่บนที่ดิน และรัฐยังเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีจากผู้เล่นได้อีก โดยเรือแต่ละลำรองรับนักท่องเที่ยวได้ราว 5,000 คน สร้างรายได้มหาศาลในการนำมาพัฒนาประเทศ

3. ก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมือง โดยให้สัมปทานหรือระดมเงินผ่านพันธบัตรรัฐบาล เช่น นราธิวาสราชนครินทร์-พระรามที่ 3-ท่าพระ (แทนรถ BRT ที่ขาดประสิทธิภาพ) ฯลฯ

4. อนุญาตให้ก่อสร้างอย่างหนาแน่นแต่ไม่แออัด โดยกำหนดผังเมืองใหม่ คืออนุญาตให้ก่อสร้างในเขตใจกลางเมือง สามารถสร้างสูงได้ถึง 15-20 เท่าของขนาดแปลงที่ดิน และให้เว้นพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะทำให้รัฐเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น

เช่น สมมติให้พื้นที่พาณิชยกรรมเพิ่มขึ้น 2 ล้านตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ที่ขายได้ 70% หรือ 1.4 ล้านตารางเมตร และหากมีราคาตารางเมตรละ 60,000 บาท จะเป็นเงิน 84,000 ล้านบาทที่เพิ่มขึ้น หากส่วนที่เพิ่ม ตามกฎหมายเก็บภาษี 10% จะได้ภาษีมาพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มอีก 8,400 ล้านบาท

5.นำที่ดินของรัฐใจกลางเมืองมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ คาดจะเกิดมูลค่าการพัฒนาไม่ต่ำกว่า 4 ล้านล้านบาท มากกว่างบประมาณแผ่นดิน แต่การให้สัมปทาน ควรแยกเป็นแปลงย่อย ป้องกันการผูกขาด

มาตรการเหล่านี้นายกฯ ซึ่งเคยเป็นผู้บริหารอสังหาฯยักษ์ใหญ่ของไทย คงทราบดี และน่าจะเลือกออกนโยบายที่ควรเป็นประโยชน์กับคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ!!


ฟันนี่เอส

คลิกอ่านคอลัมน์ “กระจก 8 หน้า” เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ