จีนผลิต "สินค้า" ล้นเกินความต้องการคนในชาติ ปัญหา Overcapacity ยังป่วนไทย ศึกครั้งใหญ่ SME ไทย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จีนผลิต "สินค้า" ล้นเกินความต้องการคนในชาติ ปัญหา Overcapacity ยังป่วนไทย ศึกครั้งใหญ่ SME ไทย

Date Time: 31 ก.ค. 2567 12:44 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • "สินค้าจีน ราคาถูก" ทะลักไทย เมื่อปัญหา Overcapacity ของจีน ที่ผลิตสินค้า ล้นความต้องการคนในชาติ ป่วนตลาดไทย ตลาดโลก กลยุทธ์ แอปฯจีน Temu ขายสินค้าตัดราคา ศึกครั้งใหญ่ ที่ SME ไทย ต้องเฝ้าระวัง

Latest


เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทย กับ จีน มีมูลค่าการค้า ร่วมกัน 104,964 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ สถานะไทยขาดดุลการค้า “จีน” มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 36,635 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็นเงินไทย เกือบ 1.3 ล้านล้านบาท (ส่งออก 34,164 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่นำเข้า 70,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 

ขณะครึ่งปีแรก 2567 (ม.ค.-มิ.ย.) กระทรวงพาณิชย์ เผย ไทยส่งออกไปจีน ลดลง -1.2% รวมมูลค่า อยู่ที่ 17,602 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่นำเข้ายังมากขึ้น ตอกย้ำสภาพปัญหา “สินค้าจีน” ราคาถูก ทะลักเข้าไทย ป่วนไปทั้งระบบ 

แอปฯ Temu ย้ำภาพ "สินค้าจีน" ไหลทะลักตลาดไทย

สอดคล้องการวิเคราะห์ของวิจัยกรุงศรี ล่าสุด ที่ระบุว่า นอกจาก การส่งออกของไทย ยังเผชิญแรงกดดดัน จากปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิต และ สินค้าส่งออกของไทย มีความเชื่อมโยงกับการค้าโลกน้อยลง ปัญหา Overcapacity ของจีน ก็ก่อให้เกิดการไหลทะลักของสินค้าจีนเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ด้านนึง ได้กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของไทยเพิ่มเติม ในสินค้ากลุ่มเสี่ยง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ จนอาจทำให้ การส่งออกไทยปีนี้ เติบโตต่ำ ที่ระดับ 1.8% เท่านั้น 

เจาะผลกระทบภายในประเทศ ดังที่ปรากฏข่าว การเกิดขึ้นของซุปเปอร์มาร์เก็ตจีนในไทยหลายแห่ง กระแสสินค้าจีน ทะลักเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการ SME รายเล็กๆ ทั้งในกลุ่มค้าปลีก และ สินค้าออนไลน์ เช่น กรณีล่าสุด แอปฯ ช็อปปิ้งออนไลน์ Temu ของจีน ที่เน้นขายสินค้าถูกมาก ได้ เข้ามาบุก ตลาด e-Commerce เปิดบริการ ในไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

ความน่ากลัวของ แอปฯ Temu ของจีน ที่ขายสารพัดสิ่ง ยังถูกหยิบยก ว่า นี่อาจเป็น ศึกครั้งใหญ่ของ SME ไทย อันเนื่องด้วย กลยุทธ์ขายถูก เน้นตัดราคาคนอื่น คาดเดาไม่ออก ว่าผู้ประกอบการไทยจะพ่ายแค่ไหน? เพราะใครๆ ก็ชอบของถูก  


โพสต์แสดงความคิดเห็นของ ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้คร่ำหวอด วงการสตาร์ทอัพ (CEO FireOneOne)

ตอกย้ำ กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ไม่อาจสามารถแข่งขันด้านต้นทุนกับสินค้าราคาถูกที่เข้ามาในประเทศได้ คล้ายกับความกังวล ที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่ง ดับไฟตั้งแต่ต้นลม 

วิกฤติเศรษฐกิจจีน เพิ่มภาวะผลิตสินค้า ล้นความต้องการ 

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังเผยว่า ปัญหาอุปทานส่วนเกินในจีน และ ภาวะสินค้าจีนล้นตลาด เกิดขึ้น ภายหลัง วิกฤติ COVID-19 ช่วงต้นปี 2563 ซึ่งประกอบกับ จีนต้องเผชิญ กับ วิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ ช่วงกลางปี 2564 

ทั้ง 2 วิกฤติรุนแรง ทำให้อุปสงค์ หรือ ความต้องการอุปโภค บริโภค ภายในประเทศของจีนฟื้นตัวได้ช้า หนักสุด คือ การลงทุนที่ซบเซา ตามภาคอสังหาฯ อย่างไรก็ดี จากการที่ รัฐบาลจีนมีนโยบายสนับสนุน ภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบาย Made in China 2025 ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2558 เพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศและทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และ นโยบาย Dual Circulation ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุปสงค์ในประเทศ 

อีกทั้งในช่วงวิกฤติ รัฐบาลจีนกลับยังมีความพยายามที่จะรักษาการเติบโต ของภาคการผลิตไว้ ผ่านการผลิตของรัฐวิสาหกิจและบริษัทที่ภาครัฐถือหุ้น เพื่อรักษาระดับการจ้างงาน ของคนในประเทศไว้ ท่ามกลางการอ่อนแอของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ลดการใช้จ่ายลง ทำให้เกิดปัญหา ภาวะสินค้าล้นตลาดตามมา จีนมีอุปทานส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก

8 กลุ่มสินค้า สต๊อกคงค้างสูงสุดของจีน 

สต๊อกสินค้าคงเหลือในจีน ปรับสูงขึ้นในหลายหมวดสินค้า สูงสุด กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ เหล็ก ยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และ เครื่องนุ่งห่ม  

เมื่อเป็นเช่นนี้ อุปทานส่วนเกินต่างๆ ในจีนนี้ ผลักให้ ผู้ประกอบการจีนบางราย ต้องปรับลดราคาสินค้า หรืออาจคงระดับราคาไว้ในระดับต่ำ เพื่อให้ยังสามารถขายสินค้าได้ 

ผู้ประกอบการจีนพยายาม ระบายสินค้าคงเหลือผ่านการส่งออกสินค้า จนส่งผลให้ดุลการค้าของจีนในปี 2565 และ 2566 เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ ก็เป็นหมวดเดียวกับสินค้าคงเหลือที่อยู่ในระดับสูง และ พบว่าประเทศที่มีสัดส่วนการนำเข้าจากจีนสูง มีทั้ง เวียดนาม รัสเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ บราซิล ไทย ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐฯ และ กลุ่มยูโรโซน 

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 ตลาดโลก และ ไทย ยังต้องเผชิญกับ ปัญหา จากการที่จีนมีกำลังการผลิตสินค้าส่วนเกิน ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงโซลาร์ และ เส้นใยสังเคราะห์ แนวโน้มไทยนำเข้าสินค้าอุปโภค บริโภคจากจีนเพิ่มมากขึ้น 

“สินค้าที่จีนมีกำลังการผลิตส่วนเกิน ทำให้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทย ต้องแข่งขันกับสินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดในประเทศ ท่ามกลางต้นทุนทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นทุกด้าน" 

ท้ายสุด ประเด็นที่น่ากังวล หากแต่เป็น เรื่องของ “สินค้าด้อยคุณภาพ” และ การเติบโตของตลาดค้าออนไลน์ ซึ่งหากราคาสินค้าราคาไม่เกิน 1,500 บาทต่อบิล จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่จากสถานการณ์จริง พบว่าผู้นำเข้ามีการใช้เทคนิคแบ่งบิลสินค้า ทำให้ไม่ต้องสำแดง ไม่ถูกตรวจสอบ กระทบกับ SME ไทยอย่างหนัก เป็นต้น 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ