กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างประเทศ (ICP) ซึ่งจัดทำโดย ธนาคารโลก (World Bank) รวม 176 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก เพื่อวัดภาวะเสมอภาคของ “อำนาจซื้อ” เพื่อนำมาเป็นตัวแปร ในการปรับข้อมูล ให้สามารถเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่าย และ ระดับราคาของสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ในอัตราเดียวกันได้
ทั้งนี้ ICP ของธนาคารโลกฉบับล่าสุด (รอบปี 2564-2566) มีข้อมูลรายละเอียดสำคัญหลายแง่ โดยพบว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ซึ่งสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก (PPP-Based Global GDP) รวมกันเกิน 40% ได้แก่
ขณะที่ส่วนแบ่ง GDP โลก ของประเทศไทย อยู่ที่ 1% และสูงเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน รองจาก อินโดนีเซีย (2.3%) ตามมาด้วย เวียดนาม มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ โดยไทยยังจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง ร่วมกับ จีน รัสเซีย บราซิล เม็กซิโก และมาเลเซีย
ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เป็นกลุ่มประเทศ ที่สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก ได้สูงที่สุดในโลก คิดเป็น 1 ใน 3 หรือ 32.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกทั้งหมด โดยประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค 2 อันดับแรก ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี ธนาคารโลก พบว่า 3 ใน 4 ของประชากรโลก ยังมีความสามารถในการซื้อต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคส่วนบุคคลของโลก (AIC per Capita) ซึ่งอยู่ที่ 12,948 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ส่วนประเทศที่มีค่าการบริโภคส่วนบุคคลสูงที่สุดในโลก 3 อันดับแรก คือ
ส่วนค่าการบริโภคส่วนบุคคลของประเทศไทยนั้น อยู่ที่ 13,429 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี จะเห็นได้ว่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับที่ 4 ของอาเซียน รองจาก สิงคโปร์, บรูไน และ มาเลเซีย
อีกความน่าสนใจ ในชุดข้อมูลเดียวกัน ยังพบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) พบว่า ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ได้แก่
โดยค่าเฉลี่ย GDP per Capita ของโลกอยู่ที่ 20,271 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนของประเทศไทย อยู่ที่ 20,838 ดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับประเทศจีน ซึ่งอยู่ที่ 20,407 ดอลลาร์สหรัฐ โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับที่ 4 ของอาเซียน
"ทั้งหมดสรุปได้ว่า ส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกของประเทศไทย ยังคงที่ที่ 1% ขณะ AIC per Capita สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นประเทศที่มีค่าการบริโภคส่วนบุคคลสูงที่สุดในโลก ส่วนประเทศไทยขยับลงมาอยู่อันดับ 4 ของอาเซียน จากที่เคยอยู่อันดับ 3 สำหรับ GDP per Capita ประเทศไทยขยับลงมาอยู่อันดับ 4 ของอาเซียน จากที่เคยอยู่อันดับ 2 รองจากมาเลเซีย"
ทั้งนี้ การเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ รอบปี 2564-2566 ประเทศไทยมีค่าการบริโภคส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน ซึ่งใกล้เคียงกับผลการสำรวจและวิเคราะห์รอบปี 2560-2563
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney