ดูเหมือนว่า ประโยคตัดพ้อ “เศรษฐกิจไทยเวลานี้ น่าเป็นห่วงมากกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง” จะดังมากขึ้นเรื่อยๆ หลังมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ทั้ง บรรยากาศ การจับจ่าย-ใช้สอย ที่พ่อค้า แม่ค้า บ่นเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ลูกค้าเดินตลาดบางตา ควักกระเป๋าเงิน “ซื้อของ” แต่ละครั้งน้อยลง เพราะพากันรัดเข็มขัด กิจกรรม กิน-ดื่ม-ท่องเที่ยว ความถี่ไม่เหมือนเก่า
ขณะตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัว ดรอปลงชัดเจน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับ GDP ทั้งตลาดที่อยู่อาศัย และ รถยนต์ เช่นเดียวกับ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคผู้ผลิตและ ผู้บริโภค ก็ยังอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง เพราะ ต่างเป็นกังวลต่อปัญหา ค่าครองชีพ และ หนี้ครัวเรือน ก้อนใหญ่ ของคนไทย
ส่วนประเด็น วิกฤติปิดโรงงาน คนตกงานพุ่ง! จนสื่อนอก นำไปตีเป็นข่าวใหญ่ แม้ ธปท. ออกมาให้ความเห็นว่า ในภาพรวม ณ ขณะนี้ การเปิดและปิดโรงงาน ยังกระทบต่อเศรษฐกิจไม่มาก เนื่องจากการเปิดโรงงานใหม่ มีจำนวนมากกว่าปิดตัว เงินลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้น และการจ้างงานสุทธิก็ยังเป็นบวก แต่ยอมรับว่า สถานการณ์มีทิศทางแย่ลง และบางอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
โดยล่าสุด รัฐบาล ออกมายอมรับว่า “หนี้ครัวเรือน” ไทยปัจจุบัน รวมอยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท ส่วน “หนี้ธุรกิจ” SMEs อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ “หนี้รัฐบาล” ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2567 มูลค่าหนี้ อยู่ที่ 64.3% ของ GDP (ยังอยู่ในกรอบหนี้สาธารณะ) โดยคาดว่า จะเริ่มคลายลงได้ภายในปี 2569 ด้วยความคาดหวังว่า เวลานั้น รายได้รัฐบาล คงจะขยายตัวมากกว่ารายจ่ายของรัฐบาล
สำหรับโจทย์การแก้ปัญหา “เศรษฐกิจไทย” ระยะสั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของคนไทย “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี ระบุปมปัญหาใหญ่สุด ก็คือ “หนี้ครัวเรือน” และแนวโน้ม “หนี้เสีย” ซึ่งรัฐบาลจะเร่งแก้ใน 7 เรื่อง หลักๆ ดังนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมวานนี้ (16 ก.ค.) นายกฯ ยังสั่งการให้คณะรัฐมนตรี กำชับ และ กำกับดูแล มาตรการแก้ปัญหาสำคัญ อีก 6 เรื่อง ด้วยกัน
ที่มา : ทำเนียบรัฐบาล
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney