Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR
InvestmentPersonal FinanceEconomicsBusiness & MarketingTech & InnovationSustainabilityExperts PoolVideosPR News
เงินเฟ้อไทย ล่าสุด เดือน มิ.ย. พลิกกลับมาลดลง 0.62% รั้งอันดับ 23 ของโลก กลุ่มประเทศเงินเฟ้อต่ำ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เงินเฟ้อไทย ล่าสุด เดือน มิ.ย. พลิกกลับมาลดลง 0.62% รั้งอันดับ 23 ของโลก กลุ่มประเทศเงินเฟ้อต่ำ

Date Time: 5 ก.ค. 2567 15:22 น.

Video

AI ฉลาดขึ้น เปลี่ยนโลกการเงินการลงทุนอย่างไร? | Digital Frontiers

Summary

  • เงินเฟ้อไทย ล่าสุด พลิกกลับมาลดลง 0.62% ส่งผล 5 เดือนแรก เงินเฟ้อขยับสูง 1.54% รั้งอันดับ 23 ของโลก ในกลุ่มประเทศเงินเฟ้อต่ำ ขณะ กระทรวงพาณิชย์ จับตาตัวแปร ไตรมาส 3 ห่วงราคาน้ำมันดีเซล-ค่าระวางเรือแพงขึ้นจากสงคราม กระทบราคาสินค้าระยะข้างหน้า

Latest


ตัวเลข “เงินเฟ้อไทย” กลับมาอยู่ในภาวะลดลงอีกครั้ง หลังจากเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ทำสถิติบวกเพิ่มขึ้น 1.54% สูงสุดในรอบ 13 เดือน จากตัวแปรค่าไฟฟ้า และ ราคาผักผลไม้สด-ไข่ไก่ปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศร้อน 

ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ เผย ดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือนมิถุนายน 2567 โดย “พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์” ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือน มิ.ย. 2567 เท่ากับ 108.50 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งเท่ากับ 107.83 

ทำให้ “อัตราเงินเฟ้อทั่วไป” ของเดือน มิ.ย. สูงขึ้นในอัตราชะลอตัว 0.62% โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากผลกระทบจากฐานต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าในเดือนก่อนหน้าสิ้นสุดลง ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดสูงขึ้นในอัตราชะลอตัว เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก หลังจากสิ้นสุดช่วงสภาพอากาศร้อนจัด สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก

ไทยรั้งอันดับ 23 ของโลก กลุ่มประเทศเงินเฟ้อต่ำ 

ทั้งนี้เมื่อเทียบ “อัตราเงินเฟ้อ” ของไทยกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุด ณ เดือน พ.ค. 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยสูงขึ้น 1.54% ซึ่งแม้ว่าเร่งตัวขึ้นจากปัจจัยชั่วคราว แต่ยังอยู่ในระดับต่ำอันดับ 23 จาก 126 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และต่ำเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน จาก 8 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (บรูไน สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย)


สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่ามีแนวโน้มอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 2 ปี 2567

ปัจจัยที่ยังทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ 

  • ค่ากระแสไฟฟ้าภาคครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า ตามมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ
  • สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อภาคการเกษตรมากขึ้น หลังจากสิ้นสุดช่วงอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ปริมาณผลผลิตและราคาสินค้าภาคการเกษตรปรับเข้าสู่ระดับปกติ 
  • การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกรายใหญ่ รวมทั้งการค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ตามสภาวะที่มีการแข่งขันสูง 

ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ได้แก่

  • ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน 
  • ความไม่แน่นอนจากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจทำให้ราคาน้ำมันและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าปรับตัวสูงขึ้น


ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ที่ 0.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง.

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์