ส่งออกไทย เติบโตต่ำ! วิจัยกรุงศรี ปรับคาดการณ์ เหลือ 1.8% ห่วงปัจจัยโครงสร้าง กดทับเศรษฐกิจ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ส่งออกไทย เติบโตต่ำ! วิจัยกรุงศรี ปรับคาดการณ์ เหลือ 1.8% ห่วงปัจจัยโครงสร้าง กดทับเศรษฐกิจ

Date Time: 25 มิ.ย. 2567 15:06 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ส่งออกไทย ปี 2567 แนวโน้มเติบโตต่ำ! แม้เดือน พ.ค. ขยายตัวแรง 7.2% วิจัยกรุงศรี ปรับคาดการณ์ ทั้งปีเหลือ 1.8% จาก 2.5% ชี้ภาพรวมเศรษฐกิจ ยังไม่สดใส แม้อันดับแข่งขันของไทย ปรับตัวดีขึ้นก็จริง แต่พบปัจจัยโครงสร้างแทบไม่กระเตื้อง

Latest


“การส่งออก” ของไทยในปี 2567 ถูกคาดการณ์ว่าจะยังเติบโตได้ดี ต้องได้รับปัจจัยหนุนจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มั่นคง

ซึ่งถ้าย้อนไป การส่งออกเดือนล่าสุด พ.ค. 2567 ที่พลิกกลับมาเติบโต 7.2% เพราะได้รับแรงหนุนจากกลุ่มสินค้าเกษตร ที่ดีดตัวขึ้นมา 36.5% ทำให้ภาพรวมดีเกินคาด  แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงที่เหลือของการส่งออกไทย ยังมีปัจจัยท้าทายจากปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตอีกมาก 

สะท้อนจากเครื่องชี้วัดต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมยังคงอ่อนแอ เช่น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้หดตัว 2%, ดัชนีความเชื่อมั่นภาค อุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน รวมถึงผลิตภาพแรงงาน (labor productivity) ในหลายอุตสาหกรรมที่ปรับลดลง 

ปรับคาดการณ์ การส่งออกไทย เหลือทั้งปี 67 เติบโตแค่ 1.8%

ล่าสุด วิจัยกรุงศรี ออกบทวิเคราะห์ว่า การส่งออกไทยยังเผชิญกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่มีแนวโน้มกลับมารุนแรงขึ้นอีก 

ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่ถูกสหรัฐฯ ประเมินว่าจีนใช้เป็นฐานการผลิต การส่งออกในปีนี้จึงยังมีแนวโน้มเติบโตต่ำ จึงได้ปรับลดคาดการณ์มูลค่าการส่งออกในปีนี้เติบโตเพียง 1.8% จากเดิมคาดขยายตัวที่ 2.5%

ส่วนข่าวดีที่ระบุว่า ล่าสุดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยปรับดีขึ้น จากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประจำปี 2567 (IMD World Competitiveness Yearbook 2024) 

ซึ่งพบว่าไทยอยู่อันดับที่ 25 จาก 67 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยปรับขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปีก่อน และขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียน (รองจากสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 1 ของโลกและอาเซียน) จากอันดับ 3 ในปีก่อนนั้น 

เศรษฐกิจไทย มีปัญหาเชิงโคงสร้าง 

วิจัยกรุงศรี ชี้ว่า แม้อันดับดังกล่าวดีขึ้นก็จริง แต่ส่วนใหญ่เป็นผลจากการฟื้นตัวตามปัจจัยเชิงวัฏจักร (Cyclical Factors) ที่ช่วยหนุนให้องค์ประกอบในด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจขยับอันดับขึ้น เช่น รายรับจากท่องเที่ยว การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และการจ้างงาน เป็นต้น 

แต่เมื่อเจาะลึกถึงปัจจัยเชิงโครงสร้าง (Structural Factors) ทั้งด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย 

ดังนั้น จึงต้องจับตาเมื่อผลของปัจจัยเชิงวัฏจักรทยอยหมดลง อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะต่อไปได้ หากไทยไม่มีการพัฒนา หรือปรับปรุงในด้านอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในอันดับค่อนข้างต่ำที่ 43 จากทั้งหมด 67 ประเทศ

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ