10 เจ้าใหญ่ ครองตลาด “ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม” ไทย เชนต่างชาติ ทุนหนา สวนทาง SME อยู่รอดต่ำ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

10 เจ้าใหญ่ ครองตลาด “ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม” ไทย เชนต่างชาติ ทุนหนา สวนทาง SME อยู่รอดต่ำ

Date Time: 12 มิ.ย. 2567 11:16 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • เปิดข้อมูลตลาด “ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม” ประเทศไทย รายได้แสนล้าน 10 เจ้าใหญ่ ไทย-เทศ ครองตลาด เชนต่างชาติ ทุนหนา เครือข่ายกว้าง แนวโน้มเติบโตดี ไม่กดดันต้นทุน สวนทาง ผู้ประกอบการทั่วไป รายเล็ก SME โอกาสทำกำไรยาก ข้อมูลพบ 40% อยู่รอดไม่ถึง 3 ปี

Latest


ภาวะเศรษฐกิจไทย ที่อาจยังฟื้นตัวช้า ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อ ทรงตัวสูง รวมถึง ปัญหา “หนี้สิน” ครัวเรือนไทย เกินระดับ 90% ต่อ GDP ไม่ได้แค่ทำให้ผู้บริโภค รัดเข็มขัด ลดกำลังซื้อลง ผ่านการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แต่ยังส่งสัญญาณ ถึงการอยู่รอด ของธุรกิจต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจด้วย 

เจาะ “ธุรกิจภัตตาคาร-ร้านอาหาร” ของประเทศไทยตั้งอยู่บนความท้าทาย ทั้งจากจำนวนร้านอาหารเปิดใหม่, การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ของกลุ่ม Cloud Kitchen (ไม่มีหน้าร้าน), ความผันผวนของราคาต้นทุน และ ค่าพลังงาน เช่น ค่าไฟฟ้า-ราคาน้ำมัน เพิ่มขึ้น  

อีกทั้ง ผู้บริโภคยุคใหม่หันมาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านสุขภาพมากขึ้น บ้างเปลี่ยนไปบริโภค อาหารทางเลือกใหม่ๆ ไม่นับแรงกดดันที่ร้านอาหาร ต้องเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามเทรนด์การบริโภค ส่งผลบวกเพิ่มต้นทุนกิจการ กระทบต่อผู้ประกอบการรายเล็กๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ตลาดแสนล้าน กับ 10 รายใหญ่ ครองส่วนแบ่งรายได้  

Thairath Money วิเคราะห์และเปิดข้อมูลจาก วิจัยกรุงศรี ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อปี 2565ในธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service Activities) อยู่ที่ 20,494 ราย ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร รายได้รวม อยู่ที่ 255,000 ล้านบาท ส่วนช่วงปี 2566 ตลาดโต 2.5-3.5% รายได้รวม ราว 263,000 ล้านบาท 


เจาะ ผู้ประกอบการสำคัญ 10 รายใหญ่ ได้แก่ 

  • เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป
  • เซ็นทรัล เรสตอรองส์
  • เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย
  • ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน
  • แมคไทย
  • เอส แอนด์ พี ซินดิเคท
  • เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์
  • เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป
  • โออิชิ กรุ๊ป
  • บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป 

โดยในกลุ่มนี้มีรายได้รวมกันอยู่ที่ 67,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 28.3% ของรายได้ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหารในปี 2565 โดยผู้ประกอบการสำคัญกลุ่มนี้ ดำเนินธุรกิจในรูปแบบร้านอาหารแบบเครือข่าย ซึ่งมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 5.5% ต่อปี

วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ในรูปแบบ รายใหญ่/มีเชนสาขา มีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว เนื่องจาก  สามารถขยายสาขา เพื่อรองรับได้ 

ขณะเดียวกัน ความนิยมในแบรนด์และช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคได้ในหลากหลายพื้นที่ ทำให้ได้เปรียบ ไม่นับอำนาจต่อรองของผู้ประกอบการที่มีต่อซัพพลายเออร์จากปริมาณคำสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก ทำให้สามารถลดต้นทุนต่อหน่วยของสินค้า ในช่วงที่วัตถุดิบอาหารและเครื่องดื่มมีราคาสูง เป็นปัจจัยช่วยหนุนให้ผู้ประกอบการร้านอาหารแบบเครือข่ายมีความได้เปรียบในการทำกำไร

ร้านอาหารรายเล็กโตยาก ต้นทุนสูง อัตราอยู่รอดต่ำ 


สวนทาง ร้านอาหารและเครื่องดื่ม (ทั่วไป) แม้จะมีโอกาสเติบโต แต่ยังคงมีความเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบที่ยังสูงและส่วนแบ่งทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นของผู้เล่นรายใหญ่/มีเชนสาขา อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน 

นอกจากนี้กำลังซื้อของผู้บริโภคอาจยังคงรอการฟื้นตัวท่ามกลางค่าครองชีพที่ยังสูง ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กยังมีความเสี่ยงด้านความสามารถในการทำกำไร

สอดคล้อง ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่พบว่า จำนวนผู้ประกอบการในธุรกิจร้านอาหารของไทยประมาณ 40% มีอายุการดำเนินงานเพียง 0-3 ปี เท่านั้น 

ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ