พฤติกรรมเสี่ยง ล่อ "ภัยไซเบอร์-มิจฉาชีพ" ชอบใช้ Wifi ฟรี เผย “ทุกสิ่ง-ทุกอย่าง” บนโลกออนไลน์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

พฤติกรรมเสี่ยง ล่อ "ภัยไซเบอร์-มิจฉาชีพ" ชอบใช้ Wifi ฟรี เผย “ทุกสิ่ง-ทุกอย่าง” บนโลกออนไลน์

Date Time: 9 มิ.ย. 2567 09:53 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • เปิด 4 พฤติกรรมเสี่ยง ล่อภัยไซเบอร์-เปิดช่อง “มิจฉาชีพ” ชอบใช้ Wifi ฟรี เผย “ทุกสิ่ง-ทุกอย่าง” บนโลกออนไลน์ และ ตั้ง Password ซ้ำๆ ต้องเปลี่ยนด่วน!

Latest


อย่าหลงเชื่อข้อความผ่านแชต เพื่อขอให้โอนเงิน หรือ ขอข้อมูลใดๆ หาก ผู้ส่งข้อความ เป็นเพื่อน ก็ควรติดต่อเพื่อนโดยตรง ผ่านช่องทางอื่นเพื่อยืนยัน ตัวตน และ จุดประสงค์แท้จริง ให้ชัดเจนเสียก่อน และ ควรตรวจสอบสลิปโอนเงินจากผู้โอนให้มั่นใจก่อนยืนยันการโอนเงิน ทุกครั้ง

นี่คือ วิธีรับมือและป้องกัน มิจฉาชีพ ในยุคแห่ง Social Media ที่มีคนตกเป็น “เหยื่อ” รายวัน สูญทั้งเงิน ข้อมูลส่วนตัว และ ความลับ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ปัจจุบัน “ภัยไซเบอร์” คุกคามการเงิน อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ภายใต้ เราเปิดเผย กิจกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้น ต่างจากอดีต ซึ่งคนร้าย หรือ มิจฉาชีพเอง ก็ใช้ช่องทางดังกล่าว หาผลประโยชน์เช่นเดียวกัน

บางคนโดน อีเมลหลอกลวง (Phishing) แอบอ้าง เป็นธนาคารพาณิชย์ เพื่อหลอกให้ทำธุรกรรม หรือกรอกข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต รู้อีกที “หมดตัว” จากการคลิกตามไปเรื่อย

บ้าง Social Media ส่วนตัว เฟซบุ๊ก, IG ถูกแฮก ขโมยข้อมูลส่วนตัว กีดกันการเข้าถึงบัญชีของเรา มีคำเตือนบ่อยๆ อย่าใช้รหัสเดิมนานๆ และ อัปเดตอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อป้องกันการโจมตี 

4 พฤติกรรมเสี่ยง ตกเป็นเหยื่อ มิจฉาชีพ 

สำหรับ 4 พฤติกรรมเสี่ยง ภัยไซเบอร์ ที่ต้องตระหนักรู้ มีดังนี้ หากไม่อยากพลาด ตกเป็น “เหยื่อ” มิจฉาชีพ 

  1. ชอบใช้ free Wifi ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ธปท.ระบุ นี่อาจทำให้เราเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูล Username และ Password ได้ 
  2. เชื่อคนง่าย โดยแนะให้เรามีสติ ไตร่ตรอง จะได้ไม่เป็นตกเป็นเหยื่อ เพราะรูปแบบของมิจฉาชีพ มาทั้ง ในรูปแบบ หลอกให้เชื่อ หลอกให้รัก และ หลอกให้สงสาร เป็นต้น 
  3. เสี่ยง จากการเปิดเผยทุกสิ่ง ระบายทุกอย่าง บนโซเชียลมีเดีย เพราะโจรอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวในการแฮกบัญชี และ ใช้ข้อมูล ในชีวิตประจำวัน เพื่อปลอมเป็นเรา และ ใช้ในการหลอกผู้อื่น ต่อไป เช่น การทักไปหาเครือข่ายเพื่อนในบัญชีของเรา ขอความช่วยเหลือ “พี่ๆ เป๋าตังค์หาย ยืมเงินหน่อย เดี๋ยวรีบโอนคืน” เป็นต้น 
  4. การตั้งรหัส Password เดาง่ายเกินไป และ ใช้ซ้ำๆ ไม่ค่อยเปลี่ยน เสี่ยงต่อการโดนแฮกข้อมูล/บัญชี ได้

ข้อมูลสถิติ ยังยืนยัน ว่า คนไทย ถูกหลอกโอนเงินสูงอันดับต้นๆ ของโลก คำเตือน ที่สำคัญก็คือ ไม่กดลิงก์ที่มากับ SMS เบอร์แปลก และ พึงระวังในการใช้ระบบ ชำระเงินออนไลน์ ให้มากขึ้น 

ที่มา : ธปท.

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ