ความหวังว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะพลิกโตมากกว่า 2.5% อาจค่อยๆ ริบหรี่ลง แม้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงาน ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสแรก ออกมาดีกว่าคาดที่ 1.5% แต่เมื่อดูไส้ในพบว่าเครื่องยนต์หลักเศรษฐกิจอย่างภาคการส่งออก หดตัวที่ 1% และมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า จากปัญหาโครงสร้างที่การผลิตสินค้า ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลกน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะ สินค้าเทคโนโลยีและรถยนต์ส่วนบุคคล สอดคล้องกับภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 เหลือเพียงภาคการท่องเที่ยวที่เป็นตัวหลัก ช่วยพยุงเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
ล่าสุด SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 (ไม่รวม Digital wallet) เหลือ 2.5% (เดิม 2.7%) แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกออกมาขยายตัวดีกว่าคาด เนื่องจากมองไปข้างหน้าภาพรวมองค์ประกอบเศรษฐกิจส่วนใหญ่แผ่วลง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้า และการใช้จ่ายภาครัฐที่แม้จะกลับมาเร่งตัว จากการเร่งรัดเบิกจ่าย หลัง พ.ร.บ. งบประมาณ 2567 ประกาศใช้ล่าช้ากว่าครึ่งปี แต่ไม่สามารถชดเชยการหดตัวรุนแรงในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ได้
สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2024 เศรษฐกิจไทยจะมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นหลายด้าน ได้แก่
1.การส่งออกขยายตัวจำกัด เนื่องจากเริ่มฟื้นตัวไม่สอดคล้องกับปริมาณการค้าโลกมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ากลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกล รถยนต์และส่วนประกอบ
2.ภาคการผลิตที่ฟื้นตัวช้ายังเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจ โดยยังคงมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง จากสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง และส่วนหนึ่งจะถูกสินค้าจีนตีตลาดจากปัญหา Overcapacity ของภาคอุตสาหกรรมจีน
3.การบริโภคภาคเอกชนแผ่วลงจากที่เคยขยายตัวได้ดีใน 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาคครัวเรือนมีความเปราะบางสูงขึ้น จากรายได้ที่ฟื้นช้า ทำให้ภาระหนี้สินอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 60,000 บาทต่อเดือนซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่เริ่มมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย
เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 จะเร่งตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 1 จาก
โดยคาดว่าในไตรมาสที่เหลือของปี 2567 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นดังนี้
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้ง ปลายปีนี้เหลือ 2.25% และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2% ในช่วงต้นปีหน้า เนื่องจากเห็นความจำเป็นในการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จากความเปราะบางในภาคครัวเรือนและธุรกิจ และปัญหาโครงสร้างที่ถ่วง การเติบโตเศรษฐกิจ เริ่มกดดันอุปสงค์ในประเทศให้แผ่วลงในระยะข้างหน้า รวมถึงต้นทุนการปรับลดดอกเบี้ยที่ลดลง โดยการลดดอกเบี้ยในช่วงที่ภาคการเงิน เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ จะไม่กระตุ้นให้คนก่อหนี้เพิ่มเหมือนในอดีต
ที่มา
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney