ปลดคนงานใช้เอไอฝ่าพิษ 400 บาท

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ปลดคนงานใช้เอไอฝ่าพิษ 400 บาท

Date Time: 16 พ.ค. 2567 07:45 น.

Summary

  • ยังไม่ชัดเจนว่าค่าแรงขั้นต่ำจะปรับขึ้นได้จริง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศหรือไม่ เพราะในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) มีมติให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดกลับไปพิจารณาค่าจ้างที่เหมาะสมในจังหวัดก่อน แล้วกลับมาเสนอไตรภาคีในเดือน ก.ค.นี้

Latest

HSBC ชี้เศรษฐกิจไทยโตกว่าที่คิด หลังรัฐเร่งลงทุน กระตุ้นบริโภค ต่างชาติเชื่อมั่น จ่อลงทุนไทยเพิ่ม

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาททั่วประเทศว่า ยังไม่ชัดเจนว่าค่าแรงขั้นต่ำจะปรับขึ้นได้จริง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศหรือไม่ เพราะในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) มีมติให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดกลับไปพิจารณาค่าจ้างที่เหมาะสมในจังหวัดก่อน แล้วกลับมาเสนอไตรภาคีในเดือน ก.ค.นี้ ซึ่งการขึ้นค่าแรง ควรมีงานวิจัยถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หรือได้ผลในเชิงบวกอย่างไร

“จากการที่ศูนย์ได้ความเห็นของผู้ประกอบการ พบว่า มีความกังวลต่อนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ เพราะค่าแรงควรปรับขึ้นตามศักยภาพของแต่ละจังหวัดที่มีค่าครองชีพและเงินเฟ้อต่างกัน และแต่ละธุรกิจมากกว่า ท้ายสุดแล้วอาจเห็นค่าแรงไม่เท่ากันทั้งประเทศ และไม่ควรจะขึ้นเกินวันละ 370 บาท หรือบางธุรกิจอาจมองต่ำกว่านี้”

ทั้งนี้ การปรับค่าแรงเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการโดยตรง ภาครัฐต้องเยียวยาผู้ประกอบการ ไม่เช่นนั้นอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ อาจต้องปิดกิจการ เพราะไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้ได้ อีกทั้งอาจจะลดคนงาน และใช้เครื่องจักร หรือปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) มาทดแทน การปรับค่าแรง 400 บาทไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับแรงงานโดยรวม มีผู้ได้ประโยชน์เพียง 7 ล้านคนซึ่งโดยเฉลี่ย 7 ล้านคนนี้มีค่าแรงขั้นต่ำขณะนี้วันละ 360 บาท หากปรับขึ้นเป็น 400 บาทตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้จะมีเงินเพิ่มเฉลี่ยเดือนละ 3,600 ล้านบาท หรือทั้งไตรมาส 4 ของปีนี้รวม 10,800 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 4 ได้ 0.3-0.4% แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งปีนี้ เพียง 0.05% แต่กลับกัน หากผู้ประกอบการผลักภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้า จะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 10-15% กระทบต่อกำลังซื้อประชาชน โดยเฉพาะกำลังแรงงานที่ 38 ล้านคน ทำให้การบริโภคหดตัวลง เกิดผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจมากกว่าเชิงบวก ฉุดเศรษฐกิจปีนี้ให้หดตัวจากที่ควรจะเป็น 0.1-0.2%

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขอให้ภาครัฐชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกไปก่อน เนื่องจากภาคการผลิตยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง และเอสเอ็มอี 3.18 ล้านราย ไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ