นับเป็นช่วงเปิดเทอม ปีการศึกษาใหม่ที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ปีนี้หนัก, ปีนี้เหนื่อย เพราะนอกจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ดี ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของบุตร-หลาน ก็ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าหนังสือ
สะท้อนจาก ผลสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครองทั่วประเทศ ของ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เพิ่งออกมาล่าสุด ระบุ ปีนี้ไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทย รายได้ที่ได้รับมีน้อยลง แถมยังขาดสภาพคล่อง แต่ราคาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษาของบุตร-หลาน หลายรายการ ยังมีราคาเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ขณะในอีกมิติ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยว่า นอกจากเทรนด์ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น “การศึกษาไทย” ยังมีประเด็นแง่คุณภาพที่ต้องเร่งจัดการด้วย หลังจากผู้ปกครองเกือบครึ่ง เริ่มมองค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางผลลัพธ์
เจาะมูลค่าการใช้จ่ายในด้านการศึกษาสำหรับบุตร หลานของผู้ปกครองใน เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2567 รวมอยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3% แบ่งเป็น
ทำให้ “ผู้ปกครอง” จำเป็นต้องจัดสรรค่าใช้จ่าย เลือกตัดลดหรือประหยัดค่าใช้จ่ายใน ชีวิตประจำวันก้อนอื่นๆ ควบคู่กับการหาแหล่งรายได้อื่นเข้ามาเพิ่มทดแทนด้วย
ประเด็นนี่เอง ยังสะท้อน ถึงความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่นับวันจะสูงขึ้น เมื่อค่าใช้จ่ายเพื่อ การศึกษามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะมีการแข่งขันที่สูง หรือโรงเรียนที่มีหลักสูตรพิเศษอย่างภาษาต่างประเทศ หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้เกิดช่องว่างทางการศึกษามากขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังพบว่า ในทัศนคติการเรียนต่อระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีลดลง จากผลสำรวจพบว่า ผู้ปกครองเกือบครึ่ง (49% ของกลุ่มตัวอย่าง) เห็นด้วยกับบุตรหลานที่เริ่ม มองว่าการเรียนจบปริญญาตรีหรือสูงกว่าไม่สำคัญต่อการสมัครงานในอนาคต
ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าอาชีพอิสระหาเงินได้มากกว่า และปัจจุบันมีหลายคนที่ประสบความสำเร็จและสร้างรายได้จากการใช้เทคโนโลยี ในการสร้างรายได้จากการขายของออนไลน์ การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) และการสร้างรายได้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งมีผลต่อ ตลาดแรงงานในระยะข้างหน้า
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney