ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯเปิดโพยราคาที่ดินปี 67 โซนนครปฐมมาแรงปรับขึ้นพรวดๆ 89.4%

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯเปิดโพยราคาที่ดินปี 67 โซนนครปฐมมาแรงปรับขึ้นพรวดๆ 89.4%

Date Time: 27 เม.ย. 2567 06:47 น.

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ราคาที่ดินเปล่ายังคงปรับเพิ่มขึ้น แต่เป็นไปในทิศทางที่ยังชะลอ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ประกอบกับภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงเกินกว่า 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่ยังคงมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผล ต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 67 รัฐไม่มีมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้ความต้องการซื้อที่ดินสะสมใน Land Bank ของผู้ประกอบการลดลง เนื่องจากการซื้อที่ดินสะสมไว้จะมีภาระที่ต้องจ่ายภาษีที่ดิน ทำให้เกิดต้นทุนจากการถือครอง

ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 67 พบว่าโซนที่ขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรกเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดังนี้ อันดับ 1 ที่ดินโซนนครปฐม มีอัตราการเปลี่ยนราคามากขึ้น 89.4% อันดับ 2 ที่ดินในโซนเมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ มีเปลี่ยนราคา 13.9% อันดับ 3 ที่ดินในโซนสมุทรสาคร มีเปลี่ยนราคา 12.4% อันดับ 4 ที่ดินในโซนกรุงเทพฯชั้นใน มีเปลี่ยนราคา 10.1% อันดับ 5 ที่ดินในโซนบางเขน-สายไหม-ดอนเมือง-หลักสี่-มีนบุรี-หนองจอก-คลองสามวา-ลาดกระบัง มีเปลี่ยนราคา 4.6%

นายวิชัยกล่าวต่อว่า ที่ดินบริเวณพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯและปริมณฑล มีการเปลี่ยนแปลงของราคาที่สูง เนื่องจากการขยายตัวของเมือง ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาขยายทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมือง รวมถึงแผนการก่อสร้างโครงการขนส่งมวลชนระบบรางทั้งเส้นทางใหม่และส่วนต่อขยาย ทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณชานเมืองเดินทางเข้า-ออกเมืองได้สะดวกขึ้น ประกอบกับราคาที่ดินชานเมืองมีราคาไม่สูงนัก นำไปใช้พัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบได้

“ที่ดินโซนกรุงเทพชั้นในมีราคาเพิ่มสูงขึ้น อาจสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการบางกลุ่มมีความสนใจพัฒนาที่อยู่อาศัยในโซนกรุงเทพฯชั้นในมากขึ้น และเป็นการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงมากกว่าแนวราบเนื่องจากในบริเวณโซนกรุงเทพฯชั้นในจะเป็นการซื้อขายที่ดินที่มีขนาดแปลงไม่ใหญ่แต่มีมูลค่าสูง จึงเหมาะกับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยอาคารชุด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสำรวจที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาส 4 ปี 66 พบว่าโซนดังกล่าวเป็นโซนที่มีการเปิดตัวโครงการอาคารชุดใหม่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 10.8%”.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ