ส่องพฤติกรรมใช้จ่าย “ดิจิทัลวอลเล็ต” กว่า 80% ลดใช้เงินส่วนตัว เก็บไว้จ่ายหนี้ Gen Z ซื้อมือถือ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ส่องพฤติกรรมใช้จ่าย “ดิจิทัลวอลเล็ต” กว่า 80% ลดใช้เงินส่วนตัว เก็บไว้จ่ายหนี้ Gen Z ซื้อมือถือ

Date Time: 24 เม.ย. 2567 11:17 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • คนไทยเตรียมใช้จ่ายเงิน จากโครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” อย่างไรบ้าง หลังคณะรัฐมนตรีไฟเขียวรายละเอียดโครงการฯ Thairath Money ชวนส่องพฤติกรรมใช้จ่าย เงินดิจิทัล 10,000 บาท คนแต่ละกลุ่มใช้จ่ายอะไร สินค้าไหนได้ประโยชน์ เม็ดเงินลงเศรษฐกิจแค่ไหน

เลื่อนแล้วเลื่อนอีก สำหรับโครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท เนื่องจากติดปัญหาในหลายส่วน ทั้งแหล่งที่มาของเงินโครงการฯ เงื่อนไขที่ไม่ชัดเจน และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จนหลายคนเริ่มถอดใจว่าโครงการอาจต้องถูกพับไป 


แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแล้ว โดยจะเริ่มเปิดให้ประชาชนและร้านค้าลงทะเบียนร่วมโครงการฯ ในไตรมาส 3 และแจกเงินในไตรมาส 4 สร้างความใจฟูให้กับคนที่รอคอย โดยเฉพาะร้านค้าท้องถิ่น และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย


SCB EIC ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคที่คาดว่าจะได้รับสิทธิดิจิทัลวอลเล็ต (ตามรายละเอียดของโครงการในช่วงครึ่งหลังของปี 2566) ระหว่าง 12 พ.ย.-12 ธ.ค. 2566 โดยสรุปข้อมูลที่น่าสนใจได้ 5 ประเด็น ดังนี้


1. เม็ดเงินส่วนใหญ่จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จะหมุนเข้าระบบภายใน 6 เดือน

แม้ว่าก่อนหน้านี้ ภาครัฐจะกำหนดระยะเวลาการใช้จ่ายมากกว่า 6 เดือนก็ตาม โดยผู้ตอบแบบสอบถามราว 58% จะทยอยใช้เงินโครงการ 10,000 บาท ครบภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้มีรายได้น้อย (รายได้น้อยกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน) หรือกลุ่มผู้สูงอายุ มีแนวโน้มจะทยอยใช้จ่ายเงิน 10,000 บาท ไปจนถึงวันสิ้นสุดโครงการในเดือน เม.ย. 2570 (ตามเงื่อนไขการใช้จ่ายที่ทางการประกาศเมื่อเดือน พ.ย. 2566)

ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 ยังไม่ได้ระบุระยะเวลาในการใช้จ่ายเงินของโครงการ ซึ่งหากภาครัฐต้องการให้เงินหมุนเวียนเร็วอย่างเต็มประสิทธิภาพ อาจต้องกำหนดระยะเวลาการใช้จ่ายให้สั้น เช่น ไม่เกิน 6 เดือน เพื่อกระตุ้นให้ผู้มีสิทธิใช้จ่ายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุ

2. Grocery เป็นสินค้าหลักที่จะได้ประโยชน์จากโครงการฯ

โดยผู้ตอบแบบสอบถาม เกือบ 40% เลือกใช้จ่ายในสินค้า Grocery ขณะที่เล็งใช้จ่ายสินค้าหมวดสุขภาพและร้านอาหารรองลงมา ยกเว้นในกลุ่มผู้มีสิทธิที่เป็น Gen Z มีแนวโน้มนำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุ มีแนวโน้มนำเงินบางส่วนจากโครงการไปซื้อสินค้าเพื่อแต่ง/ซ่อมบ้านเพิ่มเติมด้วย

ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ของแต่งบ้าน และมือถือ คาดว่าได้รับอานิสงส์จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตบ้างจากกลุ่มผู้มีสิทธิฯ ราว 10-17% ที่เลือกใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนติด Top 3 ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มใช้จ่ายเงิน 10,000 บาทในครั้งเดียว หรือเป็นกลุ่มที่ไม่ลดการใช้จ่าย/เพิ่มการใช้จ่ายเงินส่วนตัว โดยค่อนข้างกระจุกอยู่ในผู้มีสิทธิฯ กลุ่ม Gen Y และ Z รวมถึงผู้มีรายได้มากกว่า 1.5 หมื่นบาท


3. กว่า 80% จะลดการใช้จ่ายเงินส่วนตัวของตัวเอง

หากได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มาใช้จ่ายและนำเงินส่วนตัวไปเก็บออม หรือชำระคืนเงินกู้ ในขณะที่บางส่วนนำเงินกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านการให้ญาติใช้จ่าย/นำไปลงทุนธุรกิจต่อ


4. ร้านค้าท้องถิ่นและร้านสะดวกซื้อ จะเป็นกลุ่มธุรกิจรับประโยชน์จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 40% เลือกใช้จ่ายในร้านค้าท้องถิ่น อีก 26% ใช้จ่ายในร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ และ 7-11 ของประเภทร้านค้าที่เลือกใช้จ่ายทั้งหมด ขณะที่กลุ่มร้านอาหารและร้านขายยาเป็นกลุ่มรองที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการฯ นอกจากนี้ ร้านอุปกรณ์ยานยนต์และร้านอุปกรณ์การเกษตร คาดว่าจะได้อานิสงส์อยู่บ้าง 

โดยผู้มีสิทธิฯ ที่รายได้สูงหรืออยู่ในกรุงเทพฯ/หัวเมืองใหญ่ จะใช้จ่ายในร้านอุปกรณ์ยานยนต์ ขณะที่ผู้มีสิทธิฯ ในต่างจังหวัด/รายได้น้อย จะเลือกใช้จ่ายในร้านอุปกรณ์การเกษตร

อย่างไรก็ตาม คาดว่าร้านค้าส่ง/ค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต จะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากร้านค้าท้องถิ่นขนาดเล็กที่ต้องนำเงินรายได้มาใช้จ่ายต่อไปยังร้านค้าอื่นๆ เช่น การซื้อสินค้าเพื่อสต๊อกสินค้าในร้านค้า 


5. กำหนดพื้นที่ใช้จ่ายตามทะเบียนบ้าน อุปสรรคขวางการใช้เงิน

ผู้ตอบแบบสำรวจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำงาน/อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดหัวเมืองใหญ่ รวมถึงกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการ ซึ่งราว 70% ของกลุ่มเหล่านั้น มองว่าการกำหนดพื้นที่ใช้จ่ายเป็นอุปสรรค โดยมีปัญหาหลักๆ มาจากการไม่มีร้านค้าที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการในพื้นที่ที่กำหนด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ