เมื่อ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ ประกาศตัวเลข “เงินเฟ้อ” ล่าสุด เดือน มี.ค. 2567 ว่าเงินเฟ้อไทย ยังคงลดลง 0.47% ทำให้ ไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ อันดับ 4 จาก 136 เขตเศรษฐกิจ และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศ (สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย) ช่วย
อย่างไรก็ตาม นี่อาจเป็นตัวเลข ที่เราจะได้เห็นการลดลงของเงินเฟ้อเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อกระทรวงพาณิชย์ ชี้ว่า แนวโน้ม เงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2567 จะเร่งตัวสูงขึ้น จาก 4 สาเหตุ ด้วยกัน ได้แก่
ส่งผล กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 จากเดิมระหว่าง(-0.3)-1.7% มาอยู่ระหว่าง 0.0-1.0%
อย่างไรก็ดี ตัวแปรที่สำคัญ ของการเร่งขึ้น ของ “เงินเฟ้อ” คือ แนวโน้มภาครัฐกำลังทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อเนื่อง ความขัดแย้งระหว่าง รัสเซียและยูเครน ปี 2565
ทำให้ในปีเดียวกัน คนไทยมีโอกาสได้ใช้พลังงาน ในราคาที่มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นต่ำกว่าราคาพลังงานโลก ก็ด้วยการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศของ ภาครัฐอยู่ที่ประมาณ 19-35% ของราคาเฉลี่ยที่แท้จริง
ในบทวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า ตลอดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศของภาครัฐ มีส่วนให้เงินเฟ้อไทยไม่ปรับเพิ่มขึ้นมาก แม้ปัจจุบัน ราคาพลังงานในตลาดโลกจะเร่งตัวขึ้นในบางจังหวะ
โดยปัจจุบันค่าไฟฟ้างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567 อยู่ ที่ 4.18 บาท/หน่วย และงวดเดือนต่อไป (เดือน พ.ค.-ส.ค. 67) ก็มีแนวโน้มจะถูก ตรึงไว้ในระดับเดิม เช่นเดียวกับราคาก๊าซหุงต้มก็ยังตรึงอยู่ที่ 423 บาท/ถังขนาด 15 กก. ไปจนถึงเดือน มิ.ย. 2567
ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลปรับขึ้น 50 สตางค์/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2567 เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ขณะนี้อยู่ที่ 30.44 บาท/ลิตร
อย่างไรก็ดี ผลจากการอุดหนุนราคาพลังงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กองทุนฯ) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีภาระต้นทุนพลังงานและหนี้สินที่เพิ่มขึ้น
“สำหรับฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิ ณ วันที่ 14 เมษายน 2567 ติดลบ 103,620 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 56,407 ล้านบาท ส่วนก๊าซ LPG ติดลบ 47,213 ล้านบาท”
“ภาระต้นทุนคงค้างของ กฟผ. อยู่ในระดับสูง จากการรับภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าในช่วงก่อนหน้า ราว 115,652 แสนล้าน”
ดังนั้น หากภาครัฐไม่มีการทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศจาก ระดับปัจจุบัน อาจส่งผลให้ภาระต้นทุนของกองทุนฯ และ กฟผ. มีแนวโน้ม กลับไปแตะที่ระดับสูงสุดเหมือนในปี 2565 อีกครั้ง
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ในขณะที่ทั้งกองทุนน้ำมันฯ และ กฟผ.แบกภาระมากขึ้นเรื่อยๆ แต่แรงกดดันเงินเฟ้อต่ำ อาจจะเป็นจังหวะเวลาที่ภาครัฐจะทบทวนทยอยปรับลดการอุดหนุนราคา 4 พลังงานลง โดยอาจพิจารณาสนับสนุนเฉพาะกลุ่มที่เห็นว่ามีความจำเป็น อาทิ กลุ่มเปราะบาง
แต่แนวทางที่ภาครัฐทยอยปรับลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศลงและ ปล่อยให้ราคาค่อยๆ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ตั้งแต่เดือน พ.ค. 67 เป็นต้นไป หลังจากเผชิญการติดลบมานาน 6 เดือน ทั้งนี้ ในปี 2567 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยคาดว่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.8%
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ,ศูนย์วิจัยกสิกรไทย , กฟผ., กบน.
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney