ขณะนี้ กลุ่มธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ในบ้านเรา กำลังเดินเครื่องอย่างหนักในการทวงคืนรายได้ภาคการท่องเที่ยวให้กลับคืนมาอย่างยิ่งใหญ่
เช่น บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป หรือ AWC เพิ่งประกาศลงทุนพัฒนาโรงแรมอีก 2 แห่งในพัทยา ภายใต้แบรนด์โรงแรม มีเลีย พัทยา ซิตี้ และโรงแรม พาราดิซุส จอมเทียน โดยนับเป็นครั้งแรกที่แบรนด์หรูระดับโลกทั้งสอง จะเข้ามาปักธงในเมืองพัทยา ทั้งนี้ยังถือว่ามุ่งหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ของ AWC ที่ประกาศไว้ว่า พร้อมสนับสนุน ผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก
ด้านธูรกิจโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวหลักอย่าง กรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต ถูกคาดการณ์ว่ารายได้จะเติบโตสูงตามทิศทางการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งอัตราเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมกลุ่มนี้มีโอกาสสูงถึง 80% ตั้งแต่ปี 2567 แม้จะอยู่ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจก็ตาม
ข้อมูลวิเคราะห์ของวิจัยกรุงศรี ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทย นับเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโลก และมีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุน ได้แก่
เจาะ กรุงเทพฯ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศ และเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญระดับโลก โดยกรุงเทพฯ ได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน4/ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่หนุนให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ได้แก่
ข้อมูลจาก Mastercard ระบุว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีผู้มาเยือน (รวมนักท่องเที่ยวค้างคืน และไม่ค้างคืน) มากเป็นอันดับ 1 ของโลก ในปี 2566 มีส่วนหนุนให้อัตราเข้าพักปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.6% (ปี 2562 : 82.2%)
ข้อมูลของ Trivago ยังพบว่า อัตราห้องพักเฉลี่ยต่อคืนของโรงแรมในกรุงเทพฯ (ทุกระดับ) อยู่ในระดับต่ำมากที่ 2,267 บาท ขณะที่ สิงคโปร์ อยู่ที่ 7,782 บาท ซึ่งสูงกว่าเกือบ 4 เท่า ขณะที่กัวลาลัมเปอร์สูงกว่ากรุงเทพฯ เล็กน้อย (2,380 บาท) ในปี 2566
ราคาห้องพักที่อยู่ในระดับต่ำนี่เอง ทำให้โรงแรมในไทยมีจุดแข็งในด้านความสามารถในการแข่งขันด้านราคา (นอกจากค่าครองชีพที่ต่ำ เมื่อเทียบกับเมืองต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิก) ทำให้การท่องเที่ยวในไทยมี Value for Money สูงกว่าโดยเปรียบเทียบ และนับเป็นจุดแข็งที่ไทยยังสามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ต่อเนื่อง
ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรี คาดการณ์ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อน COVID-19 (38-40 ล้านคน) ได้ในปี 2568 ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงแรมรายใหญ่ยังคงขยายการลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ โดยคาดว่าอัตราเข้าพักทั่วประเทศมีแนวโน้มสูงกว่า 70% ในปี 2567
ขณะที่ จำนวนห้องพักทั่วประเทศเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว หลังจากชะลอลง สะท้อนจากพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างโรงแรม (สะท้อนจำนวนห้องพักใหม่ที่จะเข้าตลาดในอีก 1-2 ปีข้างหน้า) ในปี 2566 อยู่ที่ 1.3 ล้าน ตร.ม. เพิ่มขึ้น 6.6% เทียบกับปี 2562
โดย ชลบุรี เพิ่มขึ้น 39.7% สวนทางกับ ภูเก็ต ที่เพิ่มขึ้น 341.8% ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำในปี 2565 ขณะที่พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญที่พึ่งพานักท่องเที่ยวไทยเป็นหลัก และจังหวัดศูนย์กลางภูมิภาคยังขยายตัวดี เช่น เชียงใหม่ (+182.6%) สงขลา (+141.1%) นครราชสีมา (+21.1%) และประจวบคีรีขันธ์ (+12.7%) เป็นต้น สวนทางกับกรุงเทพฯ ที่ลดลง -33.4% อยู่ในระดับ 4.1 แสน ตร.ม.
ที่มา : วิจัยกรุงศรี
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney