เศรษฐกิจไทยจะไปต่ออย่างไร? เพราะเวลานี้ ไม่ใช่แค่ข้อมูลบ่งชี้ ว่า ภาคการผลิตของไทย อ่อนแอน่าห่วง ซึ่งสะท้อนออกมาจาก การเติบโตของภาคส่งออกไทย ยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากไม่สามารถได้รับผลประโยชน์จากภาคการผลิตของโลกที่กำลังทยอยฟื้นตัวในปัจจุบัน
เจาะปัจจัยถ่วงภายในประเทศ วิจัยกรุงศรี ระบุว่า แม้วันที่ 1 เมษายน นี้แล้ว ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเปิดมาตรการแก้หนี้ ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ที่เป็นกลุ่มเปราะบางจะได้รับความช่วยเหลือให้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้นและลดภาระดอกเบี้ย
โดยลูกหนี้ที่เข้าข่ายเรื้อรัง คือ ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทวงเงินหมุนเวียนที่ไม่เป็น NPL และชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นที่ชำระมาทั้งหมดเป็นระยะเวลานาน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ทั้งนี้ เบื้องต้น ธปท.ประเมินมีลูกหนี้เข้าข่ายเรื้อรังอยู่ประมาณ 6 แสนบัญชี เฉลี่ยมูลหนี้บัญชีละ 10,000-20,000 บาท จะมีมูลหนี้ที่เข้ามาตรการดังกล่าวประมาณ 12,000-18,000 ล้านบาท
ขณะที่การแก้ไขหนี้นอกระบบทั่วประเทศ กระทรวงมหาดไทยรายงานข้อมูลล่าสุดกลางเดือนมีนาคม มีลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้แล้ว 33,627 ราย สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ 21,978 ราย มูลหนี้ลดลง 899 ล้านบาท
วิจัยกรุงศรี วิเคราะห์ต่อว่า แม้มีความคืบหน้าและความพยายามในการแก้ปัญหาหนี้ แต่หนี้ครัวเรือนโดยรวมทั้งประเทศยังอยู่ในระดับสูงกว่า 16 ล้านล้านบาท หรือ 90.9% ของ GDP และในหนี้ครัวเรือนมีสัดส่วนถึง 59% เป็นสินเชื่อ Non-Productive (อาทิ สินเชื่อรถยนต์, สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อเพื่อการเกษตร, บัตรเครดิต) ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต
สำหรับข้อมูลจากเครดิตบูโรชี้ว่า NPL ของหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 1.05 ล้านล้านบาท และเป็นหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน (Special Mention: SM) อีก 0.6 แสนล้านบาท
ในระยะต่อไปการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนจำเป็นต้องใช้เวลาและอาจมีมาตรการด้านอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะมาตรการที่จะช่วยสร้างเสริมรายได้ให้แก่ลูกหนี้เพื่อให้มีความสามารถในการชำระหนี้ได้เพิ่มมากขึ้น
ที่มา : วิจัยกรุงศรี