เรียกได้ว่า ทิศทาง ธุรกิจค้าปลีกไทย ในปีนี้ อยู่ในสถานการณ์ยากลำบากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ จากประเด็น “สินค้าจีน” เข้ามาแข่งขันตีตลาด ขายแข่งกับผู้ประกอบการไทย รุนแรงมากยิ่งขึ้น แม้ กำลังซื้อคนไทย และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว จะมีแนวโน้มบวกขึ้นก็ตาม
ล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยข้อมูลน่าตกใจ ว่า ในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมา ผู้ผลิตสินค้าไทย ต้องเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงกับสินค้าจากจีน โดยปีที่แล้ว ไทยนำเข้าสินค้า อุปโภคบริโภคจากจีน คิดเป็นมูลค่ามากถึง 469,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% หรือ มีสัดส่วน ราว 41% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด
ทั้งนี้ เมื่อเจาะ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าจากจีนของไทย ตั้งแต่ช่วงปี 2553-2566 มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 8.9%
โดยสินค้าที่จีนเข้ามาตีตลาดส่วนใหญ่ มีทั้งกลุ่มที่เป็นของกินและของใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้
ทั้งนี้ การเข้ามาตีตลาดของสินค้าจีน ได้กดดันความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้าในไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตในหมวด สินค้า เห็นได้จากสินค้านำเข้าจากจีน บางรายการมีราคาถูกกว่าไทย เช่น สินค้าแฟชั่น (รองเท้า กระเป๋า) และผักผลไม้สด และปรุงแต่ง เป็นต้น
นอกจากนี้ กำลังการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ถูกสินค้าจีน เข้ามาตีตลาดมีแนวโน้ม ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่ของกิน (Non-food) ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่น (รองเท้า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย) และ เฟอร์นิเจอร์ อยู่ที่เพียง 30-45% เท่านั้น
เทียบ 4 ตัวอย่าง ราคาสินค้าไทย VS สินค้าจีน
กระเป๋า (บาท/ใบ)
รองเท้า (บาท/คู่)
ผักผลไม้และปรุงแต่ง (บาท/ตัน)
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ตลาดค้าปลีกในภาพรวม ปี 2567 จะยังเติบโต คาดในอัตรา 3% ด้วยมูลค่า 4.1 ล้านล้านบาท แต่การ แข่งขันสูงจากสินค้านำเข้า ทำให้ผู้ผลิตสินค้าไทยจะยังอยู่ในสถานการณ์การดำเนิน ธุรกิจที่ยากลำบากต่อไป
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย