“ค่าจ้างแรงงาน” แย่ลง!แม้คนไทยเรียนสูงขึ้น อนาคตเสี่ยง เมื่อความพร้อม ทักษะดิจิทัล ตามหลังชาติอื่น

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

“ค่าจ้างแรงงาน” แย่ลง!แม้คนไทยเรียนสูงขึ้น อนาคตเสี่ยง เมื่อความพร้อม ทักษะดิจิทัล ตามหลังชาติอื่น

Date Time: 6 ก.พ. 2567 11:07 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • EIC เผย ตลาดแรงงานไทย เผชิญความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านดิจิทัล หากปรับตัวทัน จะเป็นโอกาส แต่หากเพิกเฉย อาจกลายเป็นภัยต่อแรงงาน พบ ค่าจ้างแรงงาน แย่ลง แม้แนวโน้ม คนไทยเรียนสูงขึ้น เพราะขาดทักษะระดับสูง

Latest


เป็นที่รับรู้กันว่า "สิงคโปร์" เป็นประเทศต้นแบบ ที่ให้ความสำคัญ กับการปรับทักษะแรงงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของพลเมือง จนดันให้ อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของสิงคโปร์ ขึ้นเป็นที่ 1 ของโลกตั้งแต่ปี 2017 บนจุดแข็ง เกือบทุกมิติ และแม้จะถดถอยไปบ้างช่วงโควิด แต่ก็สามารถเร่งปรับตัว จนกลับมาเป็นอันดับ 3 ของโลกได้ในปี 2023 ที่ผ่านมา 

ตัดภาพมาที่ ประเทศไทย ขณะนี้ เราอยู่บนความเสี่ยงรอบด้าน ภายใต้ การเกิดขึ้นของ กระแสเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ จนว่ากันว่า ไทยเรากำลังตกขบวน โดยเฉพาะ หากเพิกเฉย อาจกลายเป็นภัยต่อแรงงานในอนาคต 

ข้อมูลของ SCB EIC ชี้ว่า ตลาดแรงงานไทย กำลังผจญ กับความท้าทายสำคัญจากการปฏิวัติดิจิทัล (Digital revolution) เนื่องจาก แม้แรงงานไทย จะฟื้นตัวได้เร็วจากวิกฤติโควิด อัตราว่างงานต่ำ 

แต่ หากลอง X-ray ตลาดแรงงานไทยให้ลึกลงไป จะพบความอ่อนแอเชิงโครงสร้างซ่อนอยู่ ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงปัญหาที่มีอยู่เดิม แต่วิกฤติโควิด เพิ่มแผลใหม่ไว้  ทำให้ประสิทธิภาพการจัดสรรแรงงานไทยลดลง เห็นได้จากโครงสร้างการจ้างงาน คุณภาพแรงงาน และค่าจ้างแรงงานไทยที่ไม่ค่อยดีนัก 

ค่าจ้างแรงงานไทยแย่ลง แม้คนไทยเรียนสูงขึ้น

โดยเฉพาะ พบ ดัชนีค่าจ้างแรงงานไทยมีทิศทางลดลงเฉลี่ย -1% ต่อปีในช่วง 5 ปีก่อนโควิด แล้วยิ่งลดลงแรงขึ้นเป็นเฉลี่ย -2.5% ต่อปีตั้งแต่เกิดโควิด สะท้อนว่าแรงงานไทยโดยรวมเรียนสูงขึ้นแต่ได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่อคนต่ำลง แต่ค่าจ้างแรงงานในภาคบริการที่มีมูลค่าผลผลิตต่อคนไม่สูงนัก ขณะที่ดัชนีค่าจ้างแรงงานปรับสูงขึ้นในกลุ่มธุรกิจบริการที่มูลค่าผลผลิตต่อคนสูง เช่น การเงินและประกัน สาธารณูปโภค ศิลปะบันเทิงและนันทนาการ 

ส่วนหนึ่งเพราะเป็นสาขาการผลิตที่ใช้แรงงานไม่มาก และเน้นทำงานกับเทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์

ในข้อมูลชุดนี้ ยังพบว่า ตลาดแรงงานไทยยังต้องเผชิญความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิทัล (Digital revolution) ที่มาแรงมาเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะ Digital revolution จะเข้ามาเปลี่ยนวิถีการทำงานในโลกอนาคตไร้พรมแดน 

"หากปรับตัวทัน ความท้าทายนี้จะกลายเป็นโอกาส แต่หากเพิกเฉย ความท้าทายนี้จะกลายเป็นภัยต่อแรงงาน ธุรกิจ และประเทศในที่สุด เพราะอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลังโดยไม่รู้ตัว เกิดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล การเลื่อนระดับชั้นทางสังคมทำได้ยากขึ้น ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอีกทางหนึ่ง"

ทักษะดิจิทัลไทย ตามไม่ทันประเทศอื่น 

ทั้งนี้ ผลสำรวจ Digital ranking ปี 2023 ของ IMD ชี้ชัดว่า ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และตลาดแรงงานไทยยังปรับตัวรับกระแส Digital revolution ได้ไม่ดีนัก 

โดยความพร้อมด้านทักษะดิจิทัลของแรงงานไทยยังตามหลังชาติอื่นเยอะที่ภายใต้กระแสเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ กำลังจะเข้ามาและมีความสำคัญมากขึ้นอีกในระยะ 5 ปีข้างหน้า

ไทยต้องเร่งสร้างความพร้อมต่อการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลครอบคลุมทุกภาคส่วน จึงเป็นความเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันยกระดับความพร้อมทักษะดิจิทัลกำลังคน สิ่งนี้ต้องอาศัยเวลากว่าจะเห็นผล และความตั้งใจจริงในการร่วมกันขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม ประเทศไทยจึงจะมีที่ยืนในโลกแข่งขันสูงมากเช่นนี้ได้ 

ที่มา : EIC 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ