เศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าศักยภาพ หรือ ศักยภาพกำลังลดลง เทียบวิกฤติญี่ปุ่น ลูกศร 3 ดอกของไทย คืออะไร?

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าศักยภาพ หรือ ศักยภาพกำลังลดลง เทียบวิกฤติญี่ปุ่น ลูกศร 3 ดอกของไทย คืออะไร?

Date Time: 1 ก.พ. 2567 10:16 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • “ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย” ปลุกสังคม ถาม เศรษฐกิจไทย โตต่ำกว่าศักยภาพ หรือ ศักยภาพกำลังลดลง หลังฟื้นจากโควิด-19 แต่ยังคลำหาทางไม่เจอ ห่วง GDP โตช้าเรื่อยๆ ไล่ตามประเทศอื่นๆ ไม่ทัน เทียบญี่ปุ่น พาตัวเอง ออกจากวิกฤติ ด้วยนโยบาย "ลูกศร 3 ดอก" แต่ลูกศร 3 ดอกของเศรษฐกิจไทย คืออะไร?

Latest


เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า GDP ไทย ปี 2566 คงพลาดเป้าอย่างมาก โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมายอมรับเองวานนี้ (31 ม.ค. 67) ว่า ตัวเลขเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 4/66 ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ มรสุมรุมเร้า ยังเป็นปัญหาการส่งออก การผลิต และการลงทุนที่ถดถอยลง ส่งผลกระทบต่อ GDP ทั้งปี นำมาสู่การเตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยใหม่ จากเดิมที่ ธปท.คาดไว้ GDP ไทยอาจขยายตัวได้สูง 2.4% และเตรียมปรับลด GDP ปี 67 อีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้อง (เดิมคาดไว้ 3.2%) จากฐานตัวเลขจริง 

จากประเด็นข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจไทยเพลี่ยงพล้ำ และน่าเป็นห่วงหลายจุด เพราะแม้หลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ภาคท่องเที่ยวกลับมา แต่ดูจะไม่เหมือนเดิม จากนักท่องเที่ยวหลัก “ชาวจีน” กลับมาแค่ครึ่งเดียว ด้วยปัญหาเศรษฐกิจภายในจีนเอง คาดใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นตัว เกิดคำถามตามมา แล้วไทยยังจะพึ่งพานักท่องเที่ยวชาวจีน ได้เหมือนเดิมอีกหรือไม่? เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ลดลง พบขาดดุลการค้ามากขึ้น โดยเฉพาะกับจีน 

ในการแถลงข่าววานนี้ ของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง “ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย” ได้ชี้ให้เห็นภาพความน่ากังวล ของทิศทางเศรษฐกิจไทย ไว้หลายประการ พร้อมตั้งคำถามว่า สรุปแล้ว วันนี้เศรษฐกิจไทย โตต่ำกว่าศักยภาพ ตามคำกล่าวของผู้ว่าฯ ธปท. หรือ ศักยภาพกำลังลดลงกันแน่? ท่ามกลางปัจจัยถ่วง 4 ข้อ ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด 

  • เศรษฐกิจโลก 
  • อัตราดอกเบี้ย
  • การเมืองโลก
  • เศรษฐกิจภายในอ่อนแอ

ดร.พิพัฒน์ ระบุ ถ้ามองย้อนกลับไปยาวๆ เศรษฐกิจไทยมีแต่จะถดถอยลง (สาละวันเตี้ยลง) และไม่ได้เพิ่งเริ่ม แต่เกิดขึ้นทุกครั้งหลังวิกฤติจากต้มยำกุ้ง, วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ และล่าสุดโควิด-19 

ภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติ

  • วิกฤติต้มย้ำกุ้ง จาก 7.1% สู่ 5.3% 
  • วิกฤติการเงินโลก จาก 5.3% สู่ 3.1% 
  • วิกฤติโควิด19 จาก 3.1% สู่ 2.2% 


“ทุกครั้งดูเหมือนว่าเราจะฟื้นตัวกลับไปได้ ด้วยการหาเครื่องจักรเศรษฐกิจใหม่ๆ แม้ไม่ได้กลับไปโตได้เหมือนเดิม แต่ก็ยังพอพยุงตัวเองไปได้ แต่สำหรับวิกฤติโควิดครั้งนี้ ดูเหมือนเรายังคลำหาทางไม่เจอ และยังไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรอะไรดี ทั้งนักท่องเที่ยวที่ยังกลับมาช้า ความสามารถในการส่งออกที่ดูจะไม่แข็งแกร่งเหมือนเดิม ถ้ายังไปแบบเดิม เศรษฐกิจไทยก็จะโตช้าเรื่อยๆ ไล่ตามประเทศอื่นๆ ไม่ทัน แล้วเราจะไปต่ออย่างไร”


ลูกศร 3 ดอก เศรษฐกิจไทย คืออะไร? 


ดร.พิพัฒน์ เผยต่อว่า ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับญี่ปุ่น หลังจากวิกฤติในปี 1990 เรียกว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นติดหล่มมากว่า 30 ปี จนกระทั่ง Shinzo Abe (ชินโสะ อาเบะ) นายกรัฐมนตรีผู้ล่วงลับ ได้นำเสนอลูกศร 3 ดอก เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจญี่ปุ่น จนทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นในช่วงหลัง 


สิ่งแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่การผลักดันนโยบายปฏิรูปได้จริง คือ การสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหา สอง : หาฉันทามิติของสังคมร่วมกัน เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงมีทั้งผลทางบวก และ ทางลบเสมอ คำถามคือ แล้วลูกศร 3 ดอกของประเทศไทย คืออะไร? และเราจะหาจุดร่วมทางการเมืองได้อย่างไร รวมถึง ใครจะเป็นคนยิงลูกศรนั้นออกไป เป็นประเด็นที่ต้องรีบถกเถียงกันก่อนที่จะเสียเกินไป 


ทั้งนี้ สำหรับญี่ปุ่น ที่เป็นกรณีศึกษา พบสิ่งที่ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการ คือ ...

  1. การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงิน เพื่อออกจากเงินฝืด (ในช่วงเวลานั้น)
  2. การใช้นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นการลงทุนภาครัฐ และการรักษาความยั่งยืนการคลังในระยะยาว 
  3. นโยบายปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจ เช่น เรื่องแรงงาน ภาคการเกษตร บรรษัทภิบาลของเอกชน และกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค

“กระนั้น ญี่ปุ่นก็ยังต้องใช้เวลาเกือบทศวรรษกว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัว โดยตลอดระยะเวลาดังกล่าว นายกฯ อะเบะต้องยุบสภาเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจหลายครั้ง เพื่อสร้างฉันทามติทางการเมือง เพราะมีคนทั้งได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์นโยบายปฏิรูป” 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ