ครม.เคาะงบประมาณปี 2568 3.6 ล้านล้านบาท ขาดดุลเพิ่ม 20,000 ล้านบาท

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ครม.เคาะงบประมาณปี 2568 3.6 ล้านล้านบาท ขาดดุลเพิ่ม 20,000 ล้านบาท

Date Time: 16 ม.ค. 2567 18:22 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ครม.เคาะงบประมาณรายจ่ายปี 2568 วงเงิน 3.6 ล้านล้าน ขาดดุลเพิ่ม 20,000 ล้านบาท คาดทันประกาศใช้ช่วง 17 กันยายน 2567

Latest


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ความเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 3,600,000 ล้านบาท และการปรับปรุงปฏิทินงบฯ ปี 68


วันที่ 16 มกราคม 2567 รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ปี 2568 จำนวน 3,600,000 ล้านบาท และการปรับปรุงปฏิทินงบฯ 


โดยคาดว่า ปีงบประมาณปี 2568 รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 3,454,400 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร และอื่นๆ คงเหลือรายได้สุทธิจำนวน 2,887,000 ล้านบาท


ทั้งนี้วงเงินงบประมาณ ปี 2568 จำนวน 3,600,000 ล้านบาท เท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบฯ 68-71) ที่ ครม. เห็นชอบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2566 โดยมีสาระสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างงบประมาณ, รายได้สุทธิ และงบประมาณขาดดุล ดังนี้

1.โครงสร้างงบประมาณ ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้รายจ่ายประจำ จำนวน 2,713,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 180,873.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.14% และคิดเป็นสัดส่วน 75.38% ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วน 72.78 %

  • รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งงบประมาณไว้ จำนวน 118,361.1 ล้านบาท)
  • รายจ่ายลงทุน จำนวน 742,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 24,577.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.42% และคิดเป็น 20.62%  ของวงเงินงบประมาณรวม เท่ากับสัดส่วนต่องบประมาณของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 144,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 25,680 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 21.70% และคิดเป็นสัดส่วน 4.00% ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วน 3.40% 


2.รายได้สุทธิ จำนวน 2,887,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.59% 


3.งบประมาณขาดดุล จำนวน 713,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.89% และคิดเป็นสัดส่วน 3.56% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งนับว่าลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งก่อนหน้านี้มีสัดส่วนที่ 3.64%

นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติเห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ ปี 2568 ภายใต้หลักการเหตุผลอยู่ 2 ข้อ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อสำคัญของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งคำสั่งการของนายกฯ ขอให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการนำนโยบายของรัฐบาลมากำหนดเป็นจุดเน้น ที่ต้องดำเนินงานในปีงบประมาณ 2568 และใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงาน


ไทม์ไลน์งบประมาณ ปี 2568

  • ธ.ค. 2566-2 ก.พ. 2567 หน่วยรับงบประมาณ จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่แสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยรับงบประมาณ
  • 3 ก.พ.-19 มี.ค. 2567 สงป. พิจารณารายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และนำเสนอ ครม. และ 26 มี.ค. 2567 ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียด พร้อมแนวทางการปรับปรุงรายละเอียด
  • สงป. ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณ จากนั้นดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย
  • ครม. รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่าง และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่าง พ.ร.บ. และให้สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่าง และเอกสารประกอบงบประมาณ
  • 28 พ.ค. 2567 ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบงบประมาณ และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร
  • 5-6 มิ.ย. 2567 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วาระที่ 1
  • ท้ายที่สุด 17 ก.ย. 2567 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศบังคับใช้กฎหมายต่อไป

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ