4 ปรากฏการณ์ความเสี่ยง เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย ปี 2024 เมื่อทุกอย่างอาจ “ยุ่งเหยิง” กว่าเดิม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

4 ปรากฏการณ์ความเสี่ยง เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย ปี 2024 เมื่อทุกอย่างอาจ “ยุ่งเหยิง” กว่าเดิม

Date Time: 15 ธ.ค. 2566 14:46 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • ttb analytics ชี้ 4 ปรากฏการณ์ที่อาจเห็นในปี 2024 เขย่าทิศทางเศรษฐกิจไทย เมื่อ การค้าโลก-ค่าเงิน-หนี้ครัวเรือน-โครงการเงินดิจิทัล และนโยบายดำเนินการของรัฐบาล อาจไม่แน่นอน เปราะบาง และอ่อนแอ มากขึ้น

Latest


เศรษฐกิจไทย 9 เดือนแรก ของ ปี 2023 ขยายตัวได้เพียง 1.9% ซึ่งต่ำกว่าที่หลายฝ่ายประเมินไว้ และ ได้สะท้อนถึง ความยากในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 แม้การท่องเที่ยว จะช่วยขับเคลื่อนได้มาก 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความเชื่อว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยปีหน้า หรือ ปี 2024 นั้น แนวโน้ม น่าจะกลับมาขยายตัวดีขึ้น โดย ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า เศรษฐกิจไทย จะขยายตัวได้ 3.1% จากแรงหนุน ปัจจัยบวกต่างๆ แต่ก็อาจมาพร้อม กับปัจจัยเสี่ยงเดิมๆ เช่นกัน 

โดยเฉพาะ 4 ปรากฏการณ์ที่อาจเห็นในปีหน้า เป็นแรงกดดันเศรษฐกิจ ดังนี้ 

  • เศรษฐกิจและการค้าโลกมีความไม่แน่นอนสูงแม้เศรษฐกิจโลกจะผ่านพ้นจุดต่ำสุด (Bottom Out) ไปแล้ว แต่ในระยะต่อไปเศรษฐกิจทั่วโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่น่าจะเผชิญโมเมนตัมเศรษฐกิจแผ่วลง (Soft Landing) เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีนที่กำลังซื้อในประเทศยังอ่อนแอ และยังมีความเปราะบางเชิงโครงสร้างในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคุกรุ่นในหลายภูมิภาคทั่วโลก เหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงด้านต่ำที่อาจลดทอนกำลังซื้อในตลาดโลกและการส่งออกของไทย 
  • ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนมากขึ้น โดยตลอดทั้งปี 2024 จะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่หลายแห่งทั่วโลก อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ซึ่งอาจทำให้ตลาดกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการค้าระหว่างประเทศในระยะต่อไป นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดบางส่วนคาดหวังว่าจะเห็นการทยอยผ่อนคลายการดำเนินนโยบายทางการเงิน (Dovish) ของประเทศหลักในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2024 ซึ่งอาจกดดันตลาดการเงินทั่วโลก รวมไปถึงค่าเงินบาทอาจจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ผันผวนมากขึ้นได้เช่นกัน
  • การบริโภคในประเทศอ่อนแอกว่าที่เห็น โดยระดับรายได้ของครัวเรือนไทยฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า สวนทางกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด ด้านอัตราดอกเบี้ยก็ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนอ่อนแอลง ส่งผลให้การปล่อยกู้สินเชื่อภาคธนาคารมีความเข้มงวดขึ้น เห็นได้จากการขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่คุณภาพหนี้ภาคครัวเรือนก็ย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะตัวเลขหนี้เสีย (NPL) และความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เสีย (Stage 2) ของสินเชื่อเช่าซื้อรถในไตรมาสล่าสุดที่เร่งขึ้นอย่างมีนัย 
  • เสถียรภาพเศรษฐกิจเปราะบางขึ้น คาดว่าโครงการเงินดิจิทัล (Digital Wallet) จะออกมาช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศได้ในช่วงปลายไตรมาส 2 และ 3 ของปี ซึ่งประเมินเบื้องต้นว่าจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนต่อระบบเศรษฐกิจได้ราว 0.4-0.7% ของจีดีพี และหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.6% ในปีหน้า 

ทั้งนี้ แม้จะยังไม่เห็นความชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งที่มาของงบประมาณที่จะนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็จำเป็นต้องกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ท่ามกลางพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ที่มีข้อจำกัดมากขึ้นทุกขณะ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในสายตาของนักลงทุนต่างชาติจากเสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศที่เปราะบางขึ้น  

โดยสรุป เศรษฐกิจไทยในปีหน้า มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่จะเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำจากความไม่แน่นอนรอบด้าน หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกแผ่วลงกว่าคาด ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ภาคส่งออกและภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้อย่างจำกัด ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนซึ่งต้องรอความชัดเจนจากกลไกสนับสนุนของภาครัฐ 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ที่มา : ttb analytics 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ