“หนี้ครัวเรือนไทย” จ่อล้นทะลัก 16.5 ล้านล้าน “หนี้นอกระบบ” ปัญหาซับซ้อน “ลงทะเบียนแก้หนี้”อาจไม่พอ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

“หนี้ครัวเรือนไทย” จ่อล้นทะลัก 16.5 ล้านล้าน “หนี้นอกระบบ” ปัญหาซับซ้อน “ลงทะเบียนแก้หนี้”อาจไม่พอ

Date Time: 30 พ.ย. 2566 11:50 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • ผวา “หนี้ครัวเรือนไทย” จ่อล้นทะลัก 16.5 ล้านล้านบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ “หนี้นอกระบบ” ปัญหาซับซ้อน
  • ที่ไม่อาจแก้ได้ แค่ “ลงเบียนแก้หนี้” กับรัฐ ถ้า “เจ้าหนี้” ไม่เอาด้วย จากสัญญากู้ยืมเงินไม่เป็นธรรม แนะแก้ที่ต้นตอของปัญหาร่วมด้วย เช่น การให้ความรู้ทางการเงิน และแนวทางเพิ่มรายได้

“หนี้นอกระบบ” เป็นปัญหาที่ซับซ้อนในด้านสังคม คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจ ครอบคลุมทั้งภาคครัวเรือน และระดับประเทศ จนถูกยกเป็น “วาระแห่งชาติ” ในเวลานี้ โดยรัฐบาลเตรียมเปิดให้ลูกหนี้ “ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ” เพื่อนำไปสู่การไกล่เกลี่ย ปรับโครงสร้างหนี้ และปลอดภาระหนี้ ให้ได้ ประโยชน์อีกทาง เมื่อประชาชนลืมตาอ้าปากได้ จะทำให้มีกำลังซื้อใหม่ๆ เข้ามาในระบบเศรษฐกิจ สร้างการเติบโตของ GDP ต่อไป ในระยะข้างหน้า 

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ อาจไม่ง่ายซะทีเดียว ท่ามกลางคาดการณ์ว่า หนี้ครัวเรือนไทย ที่ปัจจุบันพุ่งมาอยู่ที่ 16 ล้านล้านบาทแล้ว อาจไม่หยุดแค่เท่านี้ 

“แก้หนี้” ต้องแก้ที่ต้นตอก่อหนี้ด้วย 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือนให้ได้อย่างยั่งยืน อาจคงต้องย้อนกลับไปดูแลปัญหาที่ต้นตอ ในระดับครัวเรือนด้วย โดยเฉพาะในด้านรายได้ ความรู้และวินัยทางการเงิน รวมถึง รัฐคงต้องดำเนินการเพิ่มเติมในอีกหลายๆ ส่วน

โดยเฉพาะหนี้สินภาคครัวเรือนที่อยู่ในระบบ ซึ่งประเมินว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนอาจขยับขึ้นไปที่กรอบประมาณ 16.4-16.5 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน ประมาณ 90-91% ต่อจีดีพี เทียบกับระดับ ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 15.9 ล้านล้านบาท 91.4% ต่อจีดีพี

ย้อนไป ในการแถลงข่าว แก้หนี้นอกระบบ ของรัฐบาล 28 พ.ย. 2566 รัฐบาลประกาศ “แก้หนี้นอกระบบ” ครั้งใหญ่ โดยประเมินเบื้องต้น ว่า หนี้นอกระบบของไทย อาจมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งนอกจากจะดึงหลายหน่วยงานเข้ามาเป็นตัวกลาง จัดทำฐานข้อมูลและระบบ จัดกลุ่มลูกหนี้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ยังมีการใช้โครงการสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เข้ามาเสริมสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ด้วย 

สำหรับรายละเอียด การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล คร่าวๆ ประกอบไปด้วย  

  • การไกล่เกลี่ยระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้
  • การปรับโครงสร้างหนี้ อัตราดอกเบี้ยนั้นจะต้องไม่เกิน 15% ต่อปี
  • ให้ ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ
  • สนับสนุนให้เจ้าหนี้นอกระบบ เข้ามาอยู่ในระบบ ผ่านการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ภายใต้ พิโกไฟแนนซ์

เป้าหมายสำคัญของการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ก็คือ การทำให้หนี้นอกระบบ กลับเข้ามาอยู่ในระบบให้ได้ ผลได้ที่ชัดเจนที่สุด ที่ลูกหนี้จะได้รับ ก็น่าจะเป็น ภาระดอกเบี้ยที่ลดลง จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดต่ำลงด้วย ซึ่งจะทำให้ ภาระหนีสิ้น โดยรวมของครัวเรือนลดลง 

เช่น หากเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบ ที่กู้ผ่านผู้ให้บริการพิโกไฟแนนซ์ 36% ต่อปี (กรณีไม่มีหลักประกัน) กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่ 10% ต่อเดือน (หรือ 120% ต่อปี) จะพบว่า ในทุกๆ การกู้เงินต้น 10,000 บาท (ระยะเวลา 1 ปี) ลูกหนี้จะประหยัดภาระดอกเบี้ยได้ถึง 3.3 เท่า หรือสามารถปรับลดภาระดอกเบี้ยลงมาได้ ประมาณ 8,400 บาท

อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญของแนวทาง “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของภาครัฐ” ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า คงจะขึ้นอยู่ที่กระบวนการตรวจสอบ และยืนยันสถานะของทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ รวมไปถึงการจูงใจให้เจ้าหนี้ มาร่วมแก้ปัญหาให้กับลูกหนี้ด้วย เพราะคงต้องยอมรับว่า สัญญากู้ยืมนอกระบบ อาจมีเงื่อนไขในหลายๆ ส่วนที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 


โดยหากการติดตามเจ้าหนี้มีความล่าช้า ก็อาจต้องมีการพิจารณาต่อว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อนำไปปิดหนี้นอกระบบ แต่หากกระบวนการสามารถเดินหน้าต่อได้ ก็จะทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนในระบบปรับเพิ่มขึ้น ตามยอดการปล่อยสินเชื่อในส่วนดังกล่าว


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ