Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR
InvestmentPersonal FinanceEconomicsBusiness & MarketingTech & InnovationSustainabilityExperts PoolVideosPR News
ทะลวง ตลาดเบียร์ไทย แสนล้าน ศึกของ 3 เจ้าสัว ไทยเบฟ-บุญรอด-คาราบาว 

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ทะลวง ตลาดเบียร์ไทย แสนล้าน ศึกของ 3 เจ้าสัว ไทยเบฟ-บุญรอด-คาราบาว 

Date Time: 6 พ.ย. 2566 14:41 น.

Video

สรุปภาพรวม “สัตยา” ซีอีโอ Microsoft เยือนไทย รอบ 8 ปี  ตั้ง Data Center ผลักดัน Cloud-ai

Summary

  • คนไทย “ดื่มเก่ง” ไม่แพ้ชาติใดในโลก โอกาส 3 เจ้าสัว ไทยเบฟ-บุญรอด-คาราบาว แข่งทำเบียร์ เจาะตลาด มูลค่าแสนล้าน

Latest


“ตลาดเบียร์ เมืองไทย” จะเปลี่ยนไปตลอดกาล ... คำกล่าวนี้ คงไม่ผิดไปจากความจริงมากนัก หลังจากเร็วๆ นี้ 9 พ.ย. “เจ้าพ่อคาราบาวแดง” หรือ เสถียร เสถียรธรรมะ จะส่ง “เบียร์คาราบาว” และ “เบียร์ตะวันแดง” วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ด้วยนิยาม รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และอยากสร้างประสบการณ์การดื่มใหม่ๆ ให้กับคนไทย ต่อยอดจากธุรกิจดัง โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง คอมมูนิตี้ยอดฮิตของชาวชอบสังสรรค์ 

พร้อมๆ กับข่าว เบียร์ยี่ห้อใหม่ของคาราบาว ทั้ง 2 แบรนด์ รวม 5 รสชาติ (Lager Dunkel Weizen Rose และ IPA) นั้น ขาดตลาดอย่างหนัก ตั้งแต่ยังไม่วางขาย ในนัยทางธุรกิจ คงต้องบอกว่า การก้าวเข้ามาของเบียร์ขั้วที่ 3 ครั้งนี้ เป็นก้าวที่น่าจับตามอง และน่าจะเขย่าบังลังก์เก่า ของเบียร์ช้าง และเบียร์สิงห์ จากที่เคยแบ่งกันกินสัดส่วนตลาดมายาวนานหลายทศวรรษอย่างแน่นอน 

เจาะธุรกิจเบียร์ไทย มูลค่าแสนล้าน 

เจาะข้อมูลอุตสาหกรรมเครื่องดื่มนานาชนิดในประเทศไทย พบในปี 2563 ตลาดเครื่องดื่มในไทย มีปริมาณการบริโภครวม 1.3 หมื่นล้านลิตร มูลค่าประมาณ 7.2 แสนล้านบาท (ก่อนหดตัวลงในช่วงสถานการณ์โควิด-19) แบ่งเป็น ตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ราว 36% และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นสัดส่วน 64%

วิจัยกรุงศรี เผย ไทยมีโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราว 80 แห่ง ซึ่งมีทั้งโรงงานขนาดใหญ่ เน้นผลิตสุรา (แอลกอฮอล์ 28 ดีกรี) และเบียร์ที่เป็นแบรนด์หลักในตลาด และโรงงานขนาด กลาง-เล็ก ที่ผลิตสุราขาว สุราพื้นบ้านและไวน์ ที่ทางการไทยยังมีกฎระเบียบไม่เข้มงวดนักในด้านขนาดของโรงงานผลิต

จะเห็นได้ว่า ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทย มีมูลค่าที่สูงมาก ขณะที่การบริโภคไม่ได้หย่อนยาน โดยเบียร์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ที่สัดส่วน 71.3% ตามมาด้วยสุรา 26.7% 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธุรกิจนี้ ต้องใช้เงินลงทุนสูง และเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย อีกทั้งกฎระเบียบที่รัฐควบคุมคุณสมบัติผู้ผลิตและจำหน่าย ทำให้พื้นที่ตลาดดังกล่าว ยังกระจุกตัวอยู่กับเจ้าตลาดไม่กี่ยี่ห้อ

นี่จึงเป็นที่มา อุตสาหกรรมเบียร์ ตลาดในประเทศไทยเกือบทั้งหมด ถูกครอบครองโดย 2 รายใหญ่ คือ บุญรอดบริวเวอรี่ (ตระกูลภิรมย์ภักดี) ผู้ผลิต เบียร์สิงห์ ลีโอ และ My Beer ขณะอีกขั้ว คือ ไทยเบฟเวอเรจ (ตระกูล สิริวัฒนภักดี) ผู้ผลิต เบียร์ช้าง อาชา และเฟเดอร์บรอย 

ซึ่งมีความได้เปรียบ ทั้งเงินทุน และการกระจายสินค้า จัดจำหน่ายต่างๆ โดยปัจจุบัน ตามข้อมูล ทั้ง 2 รายใหญ่ กินส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 95% ของปริมาณจำหน่ายเบียร์ในประเทศไทย พร้อมกับตำแหน่ง ไทยมีปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาคอาเซียน

ภาคท่องเที่ยวฟื้น-เปิดผับตี 4 กระตุ้นรายได้ผู้ผลิตเบียร์ 

ขณะข้อมูลเพิ่มเติม บทวิจัยธุรกิจ ของธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ พบว่า หลังประเทศไทย ผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 และเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทย มีทิศทางปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2565 จากการที่สถานประกอบการกลับมาเปิดให้บริการอย่างเต็มตัว และมีการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ

โดยทั้งปี 2565 พบว่ามีปริมาณการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น 265.2 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 9.0% โดยเฉพาะ การเติบโตในแง่การบริโภคเบียร์ที่เพิ่มขึ้น มีเพียงกลุ่มสุราขาวปรับตัวลดลง ทั้งปริมาณการผลิตและจำหน่าย ซึ่งเป็นผลจากสภาพคล่องที่ยังไม่ฟื้นตัวของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของสินค้าดังกล่าว 

โดย LH ประเมินว่า แนวโน้มปีนี้ ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะขยายตัวอย่างมาก จากการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ กลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวและทำให้ความต้องการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น อีกทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมทางสังคม การพบปะสังสรรค์ กลับมาปกติหมดแล้ว คงส่งผล ต่อรายได้ ผู้ผลิตเบียร์ ให้กระเตื้องปรับตัวดีขึ้นอย่างน่าสนใจ แม้มีความเสี่ยง ปัญหาค่าครองชีพ และหนี้ครัวเรือนของผู้บริโภคอยู่บ้าง 

ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องจับตา และคาดว่าอุตสาหกรรมนี้ จะได้อานิสงส์ส้มหล่นไปเต็มๆ ก็คือ การที่รัฐบาลเตรียมปลดล็อก ให้ผับ-บาร์ สามารถเปิดได้ถึง ตี 4 นำร่อง 4 จังหวัดท่องเที่ยว กทม. ชลบุรี เชียงใหม่ และภูเก็ต (จำกัดโซนนิ่ง) คาดดีเดย์ 15 ธ.ค. นี้ 

รวมถึงยังมีรายงานข่าว ว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาขยายเวลา การปิดร้านของกลุ่มร้านอาหารที่มีรูปแบบคล้ายสถานบริการ จากเที่ยงคืนให้สามารถเปิดได้ถึงตี 2 ด้วย เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจและท่องเที่ยว นั่นหมายถึง โอกาสของผับ บาร์ ร้านอาหาร จะสามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เบียร์ สุรา ให้ลูกค้าได้มากขึ้น และส่วนที่ตามมา ก็คือ ยอดขาย และรายได้ของผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน 

ส่วนภาพรวม คาดว่าความต้องการบริโภคเบียร์ในประเทศ จะขยายตัวเฉลี่ย 3-4% ต่อปี ยิ่งการจัดมหกรรมกีฬาสำคัญ  ฟุตบอลยูโรและโอลิมปิกปี 2567) น่าช่วยกระตุ้นยอดจำหน่ายผ่านช่องทางร้านอาหารและสถานบันเทิง

นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังมีแนวโน้มปรับกลยุทธ์การขายเพื่อเพิ่มรายได้ อาทิ การลดปริมาณแอลกอฮอล์ และการลดขนาดบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ราคาจำหน่ายไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม ตลาดเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้รักสุขภาพอาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดเบียร์มีแอลกอฮอล์อีกส่วนด้วย 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์